เอพี ไทยแลนด์ ร่วมมือศาสตราจารย์ชื่อดังจากแสตนฟอร์ด เดินหน้าพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจยั่งยืน

· ~ 1 min read

บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จัดเวิร์คช้อปเชิงปฏิบัติการพิเศษ “LEAD – INNOVATE – DISRUPT – CHANGE” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล เลอเพ็คช์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Sustainable Engineering จาก Stanford มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เป็นวิทยากรและร่วมวางแผนกลยุทธ์ ผสาน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product), กระบวนการ (Process) และการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร (Organization)  โดยทั้ง 3 ส่วนงานต้องทำงานสอดรับกันสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจให้แก่องค์กรแบบยั่งยืน พร้อมลงพื้นที่โครงการที่กำลังพัฒนา แชร์ประสบการณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์และวางกลยุทธ์ร่วมกับคณะผู้บริหารและทีมงานเอพี เพื่อความเป็นผู้นำทางธุรกิจอย่างยั่งยืนของเอพี ควบคู่ไปกับการสร้างเพื่อสังคมที่น่าอยู่

นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี (ไทยแลนด์)
นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี (ไทยแลนด์)

คุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่า “ภายใต้กลยุทธ์  ‘AP Think Different’ เราต้องการสร้างความได้เปรียบทางกลยุทธ์ที่จะนำพาองค์กรเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จแบบยั่งยืน วันนี้กระแสของเทคโนโลยีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมทางสังคมอย่างมาก จึงเป็นเหตุผลที่เราเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่าง ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล เลอเพ็คช์ จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับทีมงานของเอพี ในการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแบบยั่งยืน”

ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล เลอเพ็คช์ ศาสตราจารย์ผู้ชำนาญการด้าน Sustainable Engineering มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด
ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล เลอเพ็คช์ ศาสตราจารย์ผู้ชำนาญการด้าน Sustainable Engineering มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด

ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล เลอเพ็คช์ อาจารย์จาก Stanford มหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลก กล่าวว่า “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมีความน่าสนใจมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนสิ่งปลูกสร้างที่ส่งมอบให้ลูกค้า กระบวนการก่อสร้าง เทคโนโลยีการออกแบบ และรูปแบบของระบบการก่อสร้าง นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่แข่งขันสูงและมีความก้าวหน้าอย่างมาก รวมไปถึงจำนวนของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำตลอดเวลา ในยุคนี้องค์กรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความเป็นผู้นำในธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งหาแนวกลยุทธ์ที่จะเท่าทันและก้าวไปก่อนหรือพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับโลก (global change) ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นเช่นในประเทศไทยเอง”

สำหรับหลักการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีปัจจัยหลักอยู่ 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่

  1. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือการพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  2. นวัตกรรมด้านกระบวนการทำงาน (Process Innovation) วิธีการก่อสร้างเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ใช้ต้นทุนอย่างคุ้มค่า และส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตรงเวลา
  3. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร (Organization Innovation) ปรับเปลี่ยนองค์กรให้สอดคล้องกับกระบวนการองค์กร สมาชิกในองค์กรต้องพร้อมที่จะดำเนินงาน และทำให้กระบวนการการทำงานต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบขององค์กรในเชิงกลยุทธ์

ซึ่ง 3 ปัจจัยนี้จะต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน จึงจะทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง อย่างไรก็ตาม นวัตกรรม (Innovation) ที่สำคัญที่สุดคือคนในองค์กร บริษัทใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและประสบความสำเร็จในระดับโลกจะต้องมี CEO หรือผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ กล้า และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นยังต้องมีทีมงานระดับผู้บริหารที่ตั้งใจที่จะทำงานร่วมกัน ประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณอนุพงษ์ กล่าวเสริมว่า “ผมมีความมั่นใจว่าพนักงานของเอพีทุกคนล้วนแล้วแต่มีศักยภาพ เพราะฉะนั้นแผนต่อไปคือการทำให้พนักงานทุกระดับ และทุกหน่วยงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน เพื่อที่ในที่สุดแล้วทิศทางการทำงานในองค์กรจะได้มาจากพนักงานโดยแท้จริง ประเด็นสำคัญคือเราจะต้องดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาให้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ทุกคนทำงานร่วมกันเป็นทีมและมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน สิ่งที่ศาสตราจารย์เลอเพ็คช์จะมาสร้างให้เกิดขึ้นกับเอพี ไม่เพียงแค่สอนครั้งเดียวแล้วจบเท่านั้น แต่จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการศึกษาวิจัย และให้ความรู้กับคนของเอพี   ในปัจจุบันนี้ เราอยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อน ที่ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแผ่ขยายเป็นวงกว้างต่อประเทศไทยและทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องพร้อมที่จะแข่งขันกับนานาองค์กรทั่วโลก การศึกษาวิจัย และพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพจะช่วยให้พนักงานของเอพีทุกๆ คนพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง (หรือ Disruptive) ที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรของเราสามารถแข่งขันได้กับองค์กรต่างๆ รวมถึงก้าวเดินไปถึงจุดหมายที่วางไว้ได้อย่างมั่นคง รวดเร็ว และยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศ”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
icon-yusabuy-titleRELATED ARTICLE
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก