“หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” โครงการแลนด์มาร์คใหม่ ณ ICONSIAM กับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

· ~ 1 min read
หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร

“หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร”  เป็นโครงการที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน มีเป้าหมายที่จะทำแลนด์มาร์คที่จะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร โดยภาครัฐจะอยู่ในฐานะผู้ให้เช่าที่ดิน ส่วนภาคเอกชนจะลงทุนดำเนินการผ่านทางมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร  โครงการนี้เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของ ICONSIAM ที่ตั้งใจจะทำให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งไอคอนสยาม

หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลข กท. 3275 เขตคลองสาน กทม. หรือซอยเจริญนคร 7  ซึ่ง ICONSIAM  เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่างสามพันธมิตร ที่เป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ ได้แก่

  • สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหาร Mixed-use development อย่าง สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่
  • MQDC แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียมและโครงการ Mixed-use ระดับ Luxury
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์ 

โดยในปี 2555 ได้เซ็นสัญญาร่วมทุนโครงการมูลค่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งด้านในจะประกอบไปด้วย คอนโดมิเนียม, ศูนย์การค้า และ 7 Wonder of Iconsiam ซึ่งตัว หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยค่ะ

หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร © PostToday
หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร © PostToday

 

ในวันที่ 27 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการ “หอชมเมืองกรุงเทพฯ” ให้สามารถคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินการได้โดยไม่ต้องใช้วิธีประมูลตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยได้ประเมินงบลงทุนไว้ที่ 4,422.96 ล้านบาท เป็นเงินตั้งต้นของมูลนิธิ 5 แสนบาท, เงินกู้จากสถาบันการเงิน 2,500 ล้านบาท และเงินบริจาคจากบริษัทเอกชนชั้นนำ 2,100 ล้านบาท  ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือไม่ใช่เงินงบประมาณจากรัฐบาลนั่นเอง  เป็นเงินเอกชนทำล้วนๆ ค่ะ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานครนี้มีมูลค่าเกินกว่า 1,000 ล้านบาท และเป็นการนำที่ดินของรัฐที่เป็นที่ราชพัสดุ เข้าไปร่วมดำเนินการโดยตีราคาค่าเช่าระยะ 30 ปี  และเป็นการร่วมลงทุนกับเอกชนจึงจำเป็นต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ระบุให้รัฐต้องรับทราบ และอนุมัติให้ทำโครงการ  ส่วนเรื่องการประมูลนั้นตามพ.ร.บ. รัฐสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิธีการประมูล หรือไม่ใช่วิธีการประมูลก็ได้

สำหรับเหตุยกเว้นไม่ใช้วิธีประมูล

  1. มีความจําเป็นเร่งด่วนและอาจทําให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
  2. กิจการของรัฐที่มีเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติทางเทคนิคเป็นการเฉพาะและรายเดียวเท่านั้น
  3. กิจการของรัฐตามนโยบายรัฐบาลซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีให้ไม่ต้องใช้วิธีประมูล

อย่างในกรณีนี้เพราะเป็นการร่วมทุนโดยที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนเป็นหลัก  ส่วนรัฐให้เช่าที่จึงมีเหตุให้ยกเว้นได้ค่ะ

หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร

ส่วนรายละเอียดเบื้องต้นของหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร จะมีความสูง 459 เมตร มีวัตถุประสงค์การสร้างและบริหารถาวรวัตถุที่มีเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ เพื่อเป็น Landmark ดึงการท่องเที่ยว ในส่วนของชั้นบนสุดของหอชมเมืองฯ จะเป็นโถงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งมหาจักรีพระบรมราชวงศ์ เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริยาธิราช ประดิษฐานรูปหล่อพระคลังมหาสมบัติ พร้อมแสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาทุกๆ ด้าน

ทั้งนี้สำหรับประมาณการรายได้ของโครงการ  จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม 1,054 ล้านบาทต่อปี ประมาณการราคาตั๋วที่ 750 บาทต่อคน โดยคนไทยจะได้ลด 50%  และประเมิณว่าโครงการจะมีค่าใช้จ่ายปีละ 892 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยปีละ 38 ล้านบาท รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำไปบริจาคองค์กรสาธารณกุศล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก