สมาคมสถาปนิกสยามฯ จัดงานสถาปนิก ’61 ภายใต้แนวคิด “Beyond Ordinary : ไม่ธรรมดา” งานสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมและงานออกแบบพื้นถิ่น

· ~ 1 min read

สมาคมสถาปนิกสยามฯ และบริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด แถลงเปิดตัวงานสถาปนิก ’61 (Architect Expo 2018) “Beyond Ordinary : ไม่ธรรมดา” ชูแนวคิดการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวิถีชีวิตร่วมสมัยของสังคมไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-6 พฤษภาคม 2561 ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

งานสถาปนิก 2561 - (ภาพที่ 2)

นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “งานสถาปนิก เป็นงานจัดแสดงด้านสถาปัตยกรรม วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน แต่ละปีมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 350,000 คน

โดยในปีนี้จัดภายใต้แนวคิด “Vernacular Living” บทบาทและความเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมและงานออกแบบพื้นถิ่นในวิถีชีวิตร่วมสมัยของสังคมไทย  ภายใต้ชื่องาน ‘Beyond Ordinary: ไม่ธรรมดา’ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมและงานออกแบบพื้นถิ่นในวิถีชีวิตร่วมสมัยของสังคมไทย

งานสถาปนิก 2561 - (ภาพที่ 3)

ปัจจุบันสถาปัตยกรรมในท้องถิ่นต่างๆ กำลังถูกท้าทายด้วยปรากฏการณ์โลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง ซึ่งงานสถาปนิก ’61 ‘ไม่ธรรมดา’ สนใจถึงกระบวนการที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในรูปแบบของนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน”

ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ เปิดพื้นที่ให้กลุ่มสถาปนิก นักออกแบบ ช่างฝีมือ ผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลายเจเนอเรชั่น ร่วมกันตั้งคำถามและตีความสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวิถีชีวิตร่วมสมัย ผ่านการออกแบบพาวิเลียนหลักทั้ง 5 ได้แก่ Living Space Pavilion, Working Space Pavilion, Meeting Space Pavilion, Moving System Pavilion และ Introduction Pavilion นอกจากนี้ยังมีพาวิเลียนอื่นๆ ที่ออกแบบโดยสถาปนิกและดีไซเนอร์ชั้นนำของเมืองไทยรวมกว่า 18 พาวิเลียน ไฮไลต์ของการจัดงานครั้งนี้ จึงประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ‘งานออกแบบพาวิเลียน’ และ ‘เนื้อหา’ ของนิทรรศการที่จัดแสดงภายใต้แนวคิด Vernacular Living ซึ่งพาวิเลียนนิทรรศการหลักทั้ง 5 ประกอบไปด้วย

  1. Living Space Pavilion นิทรรศการแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเรือนพื้นถิ่นจากสมัยบุพกาล สมัยพัฒนา และร่วมสมัย ชี้ให้เห็นว่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแบบการผลิตเป็นจำนวนมากนั้นไม่ตอบสนองต่อการอยู่อาศัยที่แท้จริง นิทรรศการถูกจัดแสดงผ่านภาพถ่ายและการออกแบบแสง และโครงร่างจำลองแม่เตาไฟ พาวิเลียนออกแบบโดย คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ จาก Boon Design
  2. Working Space Pavilion นิทรรศการแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ประกอบอาชีพ จากอดีตที่เคยซ้อนทับไปกับพื้นที่อยู่อาศัย แล้วถูกแยกออกจากกันในยุคอุตสาหกรรม จนกระทั่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ทําให้การใช้พื้นที่ทำงานและพื้นที่ส่วนตัวสามารถกลับมารวมกันอีกครั้ง จัดแสดงผ่านการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ผสมการแสดงมัลติมีเดีย พาวิเลียนออกแบบโดยคุณจริยาวดี เลขะวัฒนา และ Mr.Luke Yeung บริษัท ARCHITECTKIDD
  3. Meeting Space Pavilion นิทรรศการที่ว่าด้วยการซ้อนทับของกิจกรรมทางสังคมบนพื้นที่สาธารณะ และสเปซบนโลกออนไลน์ ตั้งคําถามถึงปฏิสัมพันธ์ของพื้นที่ทางกายภาพในโลกจริง และโลกเสมือนจริง (AR) นั้นจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร และจะทําให้บทบาทพื้นที่สาธารณะของเมืองเปลี่ยนไปอย่างไร ความน่าสนใจอยู่ที่นิทรรศการนี้จะแสดงผ่านเกมบนแอพพลิเคชั่น พาวิเลียนออกแบบโดยคุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ จากบริษัท Walllasia
  4. Moving System Pavilion นิทรรศการนําเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับระบบการเดินทางและขนส่ง ตั้งคำถามต่อ กระบวนการสร้างสรรค์ระบบขนส่งท้องถิ่นอย่าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสามล้อ เรือด่วน รถสองแถว รถพุ่มพวง ฯลฯ การพัฒนาระบบขนส่งด้วยเทคโนโลยีสื่อสารใหม่ๆ ใช้ระบบออนไลน์เป็นตัวช่วยเพิ่มระดับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมือง/ย่านต่างๆ พาวิเลียนสร้างจากไม้โดยประยุกต์ใช้โครงสร้างไร้ตะปู ออกแบบโดย ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และคุณพิช โปษยานนท์
  5. Introduction Pavilion นิทรรศการจัดแสดงภาพรวมแนวคิดการจัดงานครั้งนี้ชูบทบาทและความสำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เรื่องราวของผู้วางรากฐานการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สําคัญของประเทศ โครงสร้างพาวิเลียนก่อสร้างด้วยระบบ pneumatic ที่รูปทรงแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามสภาวะแวดล้อม สะท้อนเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สร้างขึ้นโดยปราศจากสถาปนิก ออกแบบโดยคุณสาวิตรี ไพศาลวัฒนา และ Mr. Jakub Gardolinski จาก บริษัท PAGAA ร่วมกับคุณเมธัส ศรีสุชาติ จากบริษัท MAGLA

งานสถาปนิก 2561 - (ภาพที่ 1)

นอกจากนี้ งานสถาปนิก ’61 ยังมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับกิจกรรมสันทนาการอีกมากมาย อาทิ

  • เวิร์กช็อป ให้ความรู้ภาคปฏิบัติ
  • เวทีกลาง พื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อน ให้ผู้ชมงานได้เพลิดเพลินกับการแสดงและกิจกรรมน่าสนใจที่หมุนเวียนไปตลอดการจัดงาน
  • ASA Sketch พื้นที่จัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนและผู้ที่สนใจในการวาดเขียน
  • หมอบ้านอาษา บริการให้คําปรึกษาการออกแบบและก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยทีมงานสถาปนิกจิตอาสา
  • กิจกรรมประกวดงานออกแบบระดับนานาชาติ ASA International Design Competition 2018 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด VEX: Agitated Vernacular การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ท้าทายนิยามความเป็นพื้นถิ่นแบบเดิมๆ
  • ASA Forum 2018 งานสัมมนาวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมทั้งในและต่างประเทศ โดยปีนี้มีสถาปนิกระดับโลกมาร่วมบรรยายบนเวที อาทิ ฮาน ทูมาเทคิน (Han Tümertekin) สถาปนิกจากประเทศตุรกี และโฆเซ มาเรีย ซานเช การ์เชีย (José María Sánchez García) สถาปนิกจากประเทศสเปน เป็นต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีนี้จะมีการจัดพาวิเลียนแสดงนวัตกรรมก่อสร้างจากผู้แสดงสินค้าจาก IMAG GmbH บริษัทในเครือ Messe Munchen ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้จัดงานสถาปนิกระดับโลก BAU งานแสดงสถาปัตยกรรม ผลิตภัณฑ์ และระบบก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทที่จัดแสดงนวัตกรรมก่อสร้างมาแล้วทั่วโลก จึงเป็นโอกาสที่นักออกแบบทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนรวมถึงผู้เข้าร่วมชมงานจะได้สัมผัสเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างระดับสูงภายในงานครั้งนี้

พร้อมกับการแสดงผลงานนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่มีความหลากหลายจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน อเมริกา เวียดนาม ฯลฯ  โดยปัจจุบันมีบริษัทที่ตอบรับเข้าแสดงผลงานแล้วกว่า 800 แห่ง บนพื้นที่กว่า 75,000 ตารางเมตร คาดว่ามูลค่าการซื้อขายภายในงานและต่อเนื่องจากงานจะมีมูลค่ารวมหลายหมื่นล้านบาท

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
icon-yusabuy-titleRELATED ARTICLE
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก