ปิดตำนานครึ่งศตวรรษ โรงแรมดุสิตธานี ผลิกโฉมสู่ก้าวใหม่ของวงการโรงแรม

· 4 min read

โรงแรมดุสิตธานี (Dusit Thani Bangkok Hotel) ที่อยู่คู่คนไทยมานาน 48 ปีได้ทำการปิดตัวลงในวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องที่น่าใจหายกันสักหน่อยนะคะ เพราะหากใครที่ผ่านไปมาบนเส้นสีลมหรือพระราม 4 ก็จะเห็นอยู่เป็นประจำ ถึงขั้นเรียกได้ว่าเจอโรงแรมดุสิตธานีก็เท่ากับมาถึงย่านสีลมกันแล้ว

DUSIT THANI (ภาพที่ 2)

 

ส่วนบางคนที่เสียดายงานศิลป์ที่อยู่ในโรงแรม ก็ไม่ต้องห่วงไปนะคะ เพราะทางโรงแรมได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อวิจัย ศึกษา และเก็บอนุรักษ์งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าเอาไว้ แล้วจะนำไปจัดแสดงบอกเล่าเรื่องราวให้คนยุคใหม่ได้ศึกษาค่ะ

DUSIT THANI (ภาพที่ 13)

 

สำหรับการพัฒนาผืนดินตรงจุดนี้ เป็นการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม โดยหนึ่งในนั้นจะมีโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯใหม่อยู่ในโครงการด้วย การทำเช่นนี้ทำให้สามารถใช้ศักยภาพที่ดินย่านสีลมได้เต็มที่ และตอบโจทย์การแข่งขันที่ดุเดือดในวงการธุรกิจโรงแรมให้ก้าวทันโลกมากขึ้น … ซึ่งทีมงานอยู่สบายได้มีโอกาสเข้าไปเก็บภาพในโรงแรมดุสิตธานี จึงได้รวบรวมประวัติศาสตร์ และภาพสวยๆ มาฝากกันในบทความนี้ค่ะ

HISTORY

สำหรับประวัติความเป็นมา ต้องขอย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อน …เมื่อ ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งโรงแรมดุสิตธานี มีความประทับใจในการบริการของโรงแรมต่างๆ ขณะได้ไปเที่ยวชมในต่างประเทศ ท่านจึงสร้างโรงแรมแห่งแรกขึ้นมาในชื่อ ปริ้นเซส และหลังจากนั้นประมาณ 20 ปี ก็ได้ต่อยอดธุรกิจ ก่อตั้งบริษัท ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อก่อสร้างโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ขึ้น

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่10)

โดยท่านหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย มีความต้องการให้เป็นโรงแรมสูง พร้อมทั้งได้มาตราฐานเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว โดยเลือกทำเลบริเวณหัวมุมถนนเส้นสีลมและพระราม 4 เป็นที่ตั้ง ซึ่งในสมัยนั้นทำเลย่านนี้ยังคงเงียบสงบ ไม่เหมือนกับปัจจุบันที่ได้กลายเป็นย่านธุรกิจ CBD ไปแล้วค่ะ

ARCHITECT & DESIGNER

ในสมัยนั้นในประเทศไทยยังไม่มีอาคารสูงเกินสิบชั้น การจะสร้างตึกสูงจึงเป็นเรื่องยากที่จะหาผู้เชี่ยวชาญในไทยมาช่วยออกแบบก่อสร้าง แต่ประจวบเหมาะกับที่ท่านหญิงได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นกับคณะกระทรวงอุตสาหกรรม และได้พบกับประธานกรรมการโรงแรมโอกุระ ท่านจึงได้แนะนำสถาปนิกที่มีประสบการณ์ออกแบบโรงแรมโอกุระ ที่โตเกียว และโรงแรมเพรสซิเดนท์ ที่ไต้หวัน ให้กับท่านหญิง จึงได้บริษัท Kanko Kikaku Sekkeisha (KKS.) และ Thai Obayashi มาช่วยออกแบบและก่อสร้างโรงแรมให้ค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่5)

DESIGN

เรื่องการออกแบบยังไม่จบเพียงเท่านั้นค่ะ ! ต้องบอกก่อนว่าในสมัยนั้นทุกคนจะนิยมการออกแบบตามกระแสตะวันตก คือ ลักษณะเป็นอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมซองบุหรี่ แต่ท่านหญิงให้โจทย์ว่าต้องการโรงแรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และนำเสนอความเป็นไทยเข้าไปผสมอยู่กับความทันสมัย ทางสถาปนิกจึงดึงเอาความเป็นไทยมาจากงานสถาปัตยกรรมไทยอย่างวัดวาอาราม และองค์ประกอบของใบบัว เราจึงจะเห็นการเล่นกับรูปทรงหกเหลี่ยม สามเหลี่ยม ในอาคารนี้เยอะ ทำให้มีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร ….

ตั้งแต่แปลนตัวอาคารโรงแรมจะมีรูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าปลายตัด ที่พัฒนามาจากทรงหกเหลี่ยม สูงทรงสอบลดหลั่นขึ้นไป ดูอ่อนช้อยกว่าตึกทั่วๆ ไป พร้อมทั้งมียอดเสาสีทองอยู่บนตัวอาคารเป็นที่น่าจดจำ ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากพระปรางค์วัดอรุณ นั่นเองค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี

DUSIT THANI (ภาพที่ 30)

พระปรางค์วัดอรุณ

จนกลายมาเป็นภาพโรงแรมดุสิตธานีในปัจจุบัน ที่ประกอบได้ด้วย

  • โพเดียม สูง 3 ชั้น
  • โรงแรม สูง 23 ชั้น
  • อาคารสำนักงาน สูง 11 ชั้น

ถ้าดูจากในภาพอาคารสำนักงานสูง 11 ชั้นจะอยู่ทางซ้ายมือ และตัวโรงแรมสูง 23 ชั้น อยู่ทางขวามือค่ะ ด้านหน้าจะเป็นลานจอดรถและมีทางลาดขึ้นไป Drop-Off ที่ชั้น 2 ของโรงแรมด้วย  จำนวนห้องพักของโรงแรมดุสิตธานีมีอยู่ 500 ห้อง เด่นตรงที่ทุกห้องมีระเบียงสามารถเดินออกมาชมวิวทิวทัศน์ของกรุงเทพฯ ได้  ส่วนชั้นบนสุดที่เห็นเป็นห้องกระจกสอบออกจะเป็นห้องอาหารเทียร่าค่ะ

DUSIT THANI (ภาพที่ 3)

 

ทั้งหมดนี้ใช้เวลาก่อสร้างถึง 3 ปี และเปิดให้ใช้บริการตอน พ.ศ. 2513 ค่ะ  คนรุ่นใหม่หลายคนอาจจะมองว่าไม่เห็นมีอะไรเด่น แต่บอกเลยว่า ในยุคนั้นโรงแรมดุสิตธานีถือว่าเก๋และทันสมัยสุดๆ แถมยังเป็นอาคารที่สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ในยุคนั้นอีกด้วยค่ะ

NAME & MEANING

ส่วนชื่อ โรงแรมดุสิตธานี นั้น มาจากชื่อของแดนสวรรต์ชั้นดุสิต และยังเป็นนามมงคลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเรียกเมืองจำลองแห่งประชาธิปไตย พร้อมทั้งสถานที่ตั้งโรงแรมดุสิตธานีนั้น ก็เคยเป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่เจ้าพระยายมราชมาก่อน ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นบ้านศาลาแดงอยู่ภายใต้ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และท่านหญิงได้ไปเจรจาขอเช่าที่ดินมา พอนำทุกอย่างมารวมกันแล้วคำว่า ดุสิตธานี นั้นเป็นชื่อที่เรียกง่าย แล้วยังบ่งบอกถึงความเป็นไทยไปในตัวอีกด้วย

927a8acbdac002ade038011ebbae0cf5

FACADE

พูดถึงที่มาที่ไปของการออกแบบอาคารกันแล้ว เราเดินเข้าไปดูโรงแรมดุสิตธานีกันเลยค่ะ  ซึ่งเมื่อเดินเข้ามาแล้วทุกคนจะต้องเดินผ่าน Facade ตรงโพเดียมกันทุกคน  เป็นการตกแต่งประดับแบบไทยๆ โดยออกแบบให้มีเสาสูงจากพื้นจนถึงฝ้าและหลังคารูปสามเหลี่ยมเหมือนใบบัว

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 19)

 

ระหว่างเสายังตกแต่งเป็นซุ้ม ซึ่งมีลักษณะรูปทรงคล้ายกับช่องซุ้มทางเดินที่วัดเบญจมบพิตร ประดับด้วยกระเบื้องโมเสคสีทองและสีเขียวปีกแมลงทับ ตรงกลางของซุ้มก็มีเหล็กดัดลายร่างแหประดับลายประจำยามอยู่ ทุกอย่างบ่งบอกถึงความเป็นไทยแบบประยุกต์ได้อย่างลงตัว

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 17)

 

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ที่ทางสถาปนิกนำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบซุ้มประดับบริเวณที่ Facade ชั้นล่างค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่4)-3

HEXAGON

เมื่อเข้ามาด้านในบริเวณโถงกลางที่เป็นจุด Highlight ของอาคารนี้ เพราะฝ้าจะสูง Double Volume ดูอลังการ และอยู่ติดกับกระจกบานใหญ่สูง 2 ชั้นที่เปิดวิวเข้าหาคอร์ทกลาง ที่สำคัญฝ้าเพดานจะออกแบบให้เป็นทรง 6 เหลี่ยมต่อเนื่องกับยอดเสา เหมือนกับว่าเราอยู่ใต้ใบบัวอย่างไรอย่างนั้นเลยค่ะ และการที่เราเห็นเสาหลายต้นอยู่บริเวณโถง แสดงให้เห็นว่าการก่อสร้างในสมัยก่อนยังมีข้อจำกัด เพราะยังต้องการเสาหลายต้นๆ มารองรับน้ำหนักของตัวอาคาร ยังทำ Span เสากว้างๆ ไม่ได้เหมือนกับในปัจจุบัน

บรรยากาศโถงกลางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 มีงานเลี้ยงอำลาตึกพอดีค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 31)

 

ฝ้าเพดานทรงใบบัวเป็นเอกลักษณ์นึงของโรงแรมนี้

DUSIT THANI (ภาพที่ 5)DUSIT THANI (ภาพที่ 4)

และถ้ามองออกมาจากโถงกลางก็จะพบกับคอร์ทกลาง มีน้ำตกจำลองรูปหกเหลี่ยมสูงตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 2  ล้อมรอบไปด้วยต้นไม้นาๆ ชนิด สร้างบรรยากาศความร่มรื่นให้แขกที่มาพัก และต้นไม้ที่เราเห็นกันอยู่นั้น ท่านหญิงเป็นคนปลูกเองด้วยนะคะ ทำให้บ้างต้นมีอายุราวๆ 50 กว่าปีกันเลยทีเดียว  ซึ่งถ้าเดินขึ้นบันไดข้างน้ำตกจะสามารถเดินไปยังสระว่ายน้ำหกเหลี่ยมที่อยู่ด้านหลังโรงแรมได้อีกด้วย

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 27)

DUSIT THANI (ภาพที่ 1)

 

จากการออกแบบในลักษณะนี้ ทำให้คนที่อยู่โถงกลางได้วิวสวนน้ำตกอยู่ในระดับสายตา สร้างบรรยากาศให้กับพื้นที่โถงดูร่มรื่น ในขณะที่สระว่ายน้ำหกเหลี่ยมด้านหลังนั้นจะอยู่ระดับเหนือสายตาพอดี มีความเป็นส่วนตัวด้วย

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่14)

 

ชั้น 3 จะเป็นห้องสปา ที่เลือกใช้หลังคาหน้าจั่ว เป็นเอกลักษณ์ของบ้านทรงไทย

DUSIT THANI (ภาพที่ 11)

 

เข้ากับระเบียงด้านหน้ารูปสามเหลี่ยม

DUSIT THANI (ภาพที่ 10)

 

หากมองกลับขึ้นไปก็จะเห็นตึกโรงแรมดุสิตธานีตั้งเด่นอยู่

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่5)-3

RESTAURANTS

ทีนี้เรามาดูห้องอาหารในโรงแรมกันบ้าง เพื่อนๆ บางคนอาจจะเคยได้มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นห้องอาหารเมย์ฟลาวเวอร์ (อาหารจีนกวางตุ้ง), ห้องอาหารเทียนดอง (อาหารเวียดนาม), ห้องอาหารเบญจรงค์ (อาหารไทย) และ ห้องอาหารเทียร่า ที่อยู่บนชั้นสูงสุดของตึก

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่6)-2

 

หนึ่งในสถานที่ที่เป็นไฮไลท์น่าสนใจคงขาดไม่ได้ คือ ห้องอาหารเบญจรงค์ ห้องอาหารไทย ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตั้งแต่สมัยที่เปิดให้บริการตั้งแต่อดีต  ภายในก็ออกแบบตกแต่งเก็บรายละเอียดออกมาได้งดงามตามแบบศิลปะไทย ทั้งลายที่บรรจงวาดบนผนัง, เสากลมต้นใหญ่ 2 ต้น โดยทั้ง 2 อย่างนี้ เป็นผลงานงานชิ้นเอกผลงานหนึ่งของศิลปินชั้นครู ไพบูลย์ สุวรรณกฏ และในห้องนี้ยังมีการตกแต่งเก็บรายละเอียดลายแกะฉลุไม้, ไม้สักที่ตกแต่งห้อง ซึ่งการรื้อถอนโรงแรมในครั้งนี้ จะต้องหาทางตัดเสาและเก็บผนังเพื่ออนุรักษ์ไว้ด้วยค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 8)

 

ภาพวาดฝาผนังของศิลปิน ไพบูลย์ สุวรรณกฏ เป็นหนึ่งจุดที่ทางกรมศิลปากร ตั้งใจเก็บและอนุรักษ์ผลงานชิ้นนี้ไว้

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 12)

 

การฉลุไม้และการแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ล้วนบ่งบอกถึงความประณีตในการออกแบบประดับตกแต่ง

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่4)-2

 

ห้องรับประทานอาหารแบบส่วนตัว

DUSIT THANI (ภาพที่ 12)

 

นอกจากห้องอาหารเบญจรงค์แล้วก็ยังมี ห้องอาหารเทียร่า ที่เป็นไฮไลท์อีกห้องหนึ่งของที่นี้ เพื่อนๆ บางคนอาจจะรู้สึกเป็นเรื่องปกติกับร้านอาหารบนชั้นสูงๆ ที่สามารถมองเห็นวิวได้เหมือนในสมัยนี้ แต่รู้เมื่อไหร่ว่า โรงแรมดุสิตธานีถือเป็นโรงแรมแรกในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ Supper Club บนชั้นสูงสุดของอาคาร ที่สามารถมองเห็นวิวกรุงเทพฯ ไกลถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนั้นสถานที่แห่งนี้ จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากค่ะ ต่อมาภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนเป็นห้องอาหารฝรั่ง D’Sens และสุดท้ายก็เปลี่ยนเป็นห้องอาหารแนวแปซิฟิกซีฟู๊ด 22 Kitchen & Bar ค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่16)

โรงแรมดุสิตธานีก็ยังมีห้องอื่นๆ และการตกแต่งที่คงเอกลักษณ์ความเป็นไทยไว้อีกมากมายนะคะ ห้องที่เรานำมาฝากกันอีกห้อง คือ ห้อง Library 1918 ที่เป็นห้องจัดงานรองรับแขกพิเศษต่างๆ ซึ่งดีไซน์ตกแต่งออกแบบมาให้เหมือนห้องหนังสือ ภายในห้องยังเก็บรายละเอียดแกะสลักไม้ลวดลายดอกบัวอย่างประณีต และยังเป็นห้องที่เก็บเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วยค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 6)

 

ภายในห้องนี้จะได้วิวน้ำตกจำลองตรงคอร์ทกลางชัดเจน บรรยากาศภายในห้องจะดูเป็นไทยผสมความทันสมัย

DUSIT THANI (ภาพที่ 13)

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 4)

DUSIT THANI (ภาพที่ 15)DUSIT THANI (ภาพที่ 14)

 

ของตกแต่งต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 6

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่1)-3

นอกจากห้องเหล่านั้นแล้วยังมีห้องนภาลัยบอลรูม และห้องพักต่างๆ ที่มีการตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยผสมอยู่

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่30)

 

โถงบันไดขึ้นชั้นสอง

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 24)

ROOMS

โถงลิฟต์ตรงกลางยังออกแบบให้เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายตัดเลยค่ะ คงคอนเซ็ปต์ได้ดีจริงๆ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่ 30)

 

การตกแต่งห้องพักจะตกแต่งเป็นสไตล์ไทยๆ ตามยุคสมัยต่างๆ สวยงามค่ะ

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่12)

โรงแรมดุสิตธานี (ภาพที่13)

การปิด โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ก็เพื่อก้าวไปสู่การบริการที่ทันสมัยและตอบโจทย์ลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น กับการทำโครงการในรูปแบบ Mixed-use โดยร่วมทุนระหว่าง บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) มูลค่าสูงกว่า 3.67 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียวค่ะ

นับจากนี้ไปอีก 3-4 ปีข้างหน้า ก็ตั้งตารอดูการเปลี่ยนแปลงผลิกโฉมของโรงแรมดุสิตธานีได้เลยค่ะ ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่คาดว่ายังคงรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยของดุสิตธานีไว้เช่นเดิน สำหรับบทความนี้ก็ขอลากันไว้เพียงเท่านี้นะคะ….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
icon-yusabuy-titleRELATED ARTICLE
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก