รถไฟฟ้าผ่านหน้าบ้านใคร ความสบายก็บังเกิดค่ะ หลังจากที่รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ) เปิดใช้บริการไปเมื่อสิงหาคม 2559 ส่วนสายสีน้ำเงินก็วิ่งครบลูปเป็นสายแรกไปเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ล่าสุดรถไฟฟ้าสายสีทอง และสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย วัดพระศรีมหาธาตุ – คูคต) ก็กำลังทดสอบวิ่งรถจริง เพื่อเตรียมให้บริการในช่วงสิ้นปี 2563 นี้ ประชาชนย่านฝั่งธนฯ และโซนกรุงเทพเหนือก็คงรอกันใจจดใจจ่อทีเดียว ส่วนบ้านใครใกล้รถไฟฟ้าสายสีอื่นๆ อยู่สบายรวบรวมข้อมูลมาดูกันค่ะว่า รถไฟฟ้าสายละสายนั้นมีความคืบหน้าและกำหนดเสร็จกันเมื่อไหร่ ในบทความ “โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 13 สายเพื่ออนาคต” นี้มาให้ดูกันค่ะ
แผนการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่เดิมมีทั้งหมด 10 เส้นทาง รวมระยะทาง 464 กิโลเมตร เป็นนโยบายมาตั้งแต่ปี 2554 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร มาจนถึงปัจจุบันมีการปรับแผนเป็นทั้งหมด 13 เส้นทาง ระยะประมาณ 566 กิโลเมตร ทำให้ปัจจุบันถนนหลายสายในกรุงเทพฯ ได้ปิดถนนเพื่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ากันอยู่ ถ้าว่ากันตามแผนงานในอุดมคติเลย ก็วางแผนไว้ว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมด 13 สายนี้ภายในปลายปี พ.ศ. 2570 ค่ะ แต่เอาจริงๆ แล้วเชื่อเถอะว่าไม่เสร็จหรอก มีโรคเลื่อนแน่ๆ
เรื่องสัมปทานกับกับเจ้าของโครงการแต่ละสายนั้นเป็นเรื่องที่คนทั่วไปยังมีการสับสนพอสมควร ถ้าให้อธิบายง่ายๆ คือ รถไฟฟ้า BTS สายหลักที่พวกเรานั่งกันอยู่ทุกวันนี้ คือ สายสุขุมวิท สายสีลม นั้นเป็นสัมปทานเดิมที่ทางกรุงเทพมหานครให้กับ BTS ลงทุนหมด ทั้งโครงสร้าง ทั้งตัวรถ ทั้งราง ทั้งตัวสถานี ส่วน BTS ต่อขยายออกไปที่ไปถึงแบริ่งและบางหว้านั้น ทางกรุงเทพฯ ลงเงิน แต่จ้าง BTS วิ่งรถและดำเนินงานทั้งหมด จากนั้นให้เก็บเงินโดยส่งให้ บริษัท กรุงเทพ ธนาคม จำกัด ซึ่งกรุงเทพฯ ถือหุ้นทั้งหมดค่ะ
ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายเฉลิมรัชมงคล ในปัจจุบันนั้นเป็นของ MRTA ซึ่งให้สัมปทานไปกับบริษัท BMCL ไปก่อสร้างและเดินรถรวมถึงบริหารจัดการทั้งหมด (ปัจจุบัน BMCL ควบรวมกิจการกับ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (ฺBECL) กลายเป็นบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM) แต่ถ้าเป็นรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยาย (บางใหญ่ – บางซื่อ) นั้นทาง BEM นั้นจะได้เดินรถอย่างเดียวไม่ได้เป็นสัมปทานทั้งหมดเหมือนกับรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล นะคะ และสำหรับสายอื่นๆ ต่อจากนี้ก็จะเป็นทาง MRTA ที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ค่ะ
ก็แบ่งเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (Bangkok Metro Public Company, BMCL) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสีแดงอ่อน วิ่งตามแนวรถไฟเดิม ส่วนสายรถไฟฟ้าสีอื่นๆจะเป็นส่วนของบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพเป็นผู้ดำเนินการค่ะ
อ้อ.. แล้วก็เกือบลืมว่า สายสีแดงทั้งหมดนั้นจะเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยนะคะ
มาดูผังรถไฟฟ้าสายที่เปิดให้บริการแล้วกันค่ะ (คลิกรูปเพื่อขยาย)
รถไฟฟ้าเมื่อครบทุกสาย (คลิกรูปเพื่อขยาย)
สายบางบอน-มหาชัยจะเกิดขึ้นอีกไหม
สีน้ำเงินเข้ม จุดลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ถูกต้องนะครับ
แก้ไขแล้วครับ
ขอบคุณสำหรับคอมเม้นท์ครับ