ไอเดียการพัฒนาทางจักรยานในเมืองใหญ่เพื่อลดมลพิษ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ที่เดนมาร์กและจีน

· 2 min read

การขี่จักรยานนอกจากจะทำให้สุขภาพดีแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะได้อีกต่างหาก  การขี่จักรยานจึงเป็นที่นิยมกันทั่วโลก  แต่เมืองไทยทางขี่จักรยานยังลำบากอยู่ ยิ่งในกรุงเทพฯ ความกว้างของถนนมีจำกัด ถ้าจะขยายเพิ่มทางจักรยานก็จะไปเบียดทางเดินเท้าให้น้อยลง ถ้าจะไปเบียดทางรถยนต์ก็เป็นเรื่องใหญ่  หลายประเทศก็ประสบปัญหาเดียวกัน  แต่ความคิดสร้างสรรค์สามารถช่วยแก้ได้นะ

ที่แรกเราจะพาไปยังเมือง Copenhagen ประเทศเดนมาร์ก เป็นประเทศที่ประชาชนไปเรียน ไปทำงานด้วยจักรยานถึง 41%  แต่มักเป็นทางขี่จักรยานปนกับทางรถยนต์ หรือรวมกับทางเดินเท้า  ปีหลังๆ มานี้หน่วยงานที่เกี่ยวจึงได้สร้างทางสำหรับขี่จักรยานโดยเฉพาะเพื่อลดปัญหานี้

ทางจักรยาน ประเทศเดนมาร์ค (ภาพที่ 8)
© www.visitcopenhagen.com

 

เมือง Copenhagen เป็นเมืองที่มีแม่น้ำผ่ากลางเมือง จึงมีสะพานข้ามแม่น้ำอยู่หลายแห่ง ยกตัวอย่างเช่น สะพาน Bryggebroe ที่มีคนขี่จักรยานใช้ข้ามแม่น้ำถึง 12,500 คน/วัน  ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์การค้า Fisketorvet  ด้วย ดังนั้นจึงมีปัญหาการจราจรพอสมควร ทั้งคนขี่จักรยานและคนเดินถนน

ทางจักรยาน ประเทศเดนมาร์ค (ภาพที่ 10)

 

สะพานที่ไฮไลท์สีเหลืองเป็นสะพาน Bryggebroe ที่มีคนใช้กันเป็นประจำ  ฝั่งซ้ายจะเป็นบริเวณที่มีคนเดินผ่านเยอะเพราะเป็นพื้นที่ศูนย์การค้า โดยแทนที่จะทาสีแบ่งทางเดินคนและทางขี่จักรยานเฉยๆ  บริษัทสถาปนิก Dissing + Weitling กลับมีไอเดีย สร้างสะพานสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ ให้ขยับออกจากทางเดินหน้าห้าง ไปอยู่เหนือแม่น้ำแทน (ที่เราเห็นในภาพเป็นทางสีแดงอ่อนเป็นเส้นโค้ง) หน้าตาคล้ายงู เลยมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า Bicycle Snake

ทางจักรยาน (ภาพที่ 2)

 

ทางจักรยานมาลงหน้าศูนย์การค้าเพิ่มขี่ต่อไปยังสะพาน Bryggebroe ได้สะดวกขึ้น ไม่ต้องผ่านฝูงชน พื้นผิวถนนเรียบทาสีส้มสดใส ทำให้ขับขี่จักรยานมองเห็นถนนชัดขึ้นโดยเฉพาะในตอนกลางคืน

ทางจักรยาน ประเทศเดนมาร์ค (ภาพที่ 7)
© www.visitcopenhagen.com

 

แม้จะเป็นระยะทางสั้นๆ ก็แก้ปัญหานี้ได้ดี  เพราะทำแยกทางขี่จักรยานออกมาชัดเจนจากทางคนเดิน ยังทำให้สถานที่ดูมีกิมมิค  คนขี่จักรยานก็สนุกมากขึ้นเพราะได้ขี่เหนือแม่น้ำ ได้ชมวิวสวยๆ

ทางจักรยาน ประเทศเดนมาร์ค (ภาพที่ 5)
© www.theguardian.com

 

ทางขี่จักรยานแห่งนี้สูงเหนือแม่น้ำ 6-7 เมตร ก่อสร้างโครงสร้างเหล็กเพื่อให้โครงสร้างบาง และหน้าตาทันสมัยดูดี

ทางจักรยาน ประเทศเดนมาร์ค (ภาพที่ 4)
© www.theguardian.com

 

บรรยากาศจริงในการใช้ Bicycle Snake ค่ะ

 

นอกจากสะพานแห่งนี้ภายในเมือง Copenhagen  ยังมีสะพานอื่นๆ อีกหลายแห่งในเมือง Copenhagen  เฉพาะคนขี่จักรยานอีกด้วย บางแห่งก็เป็นสะพานข้ามแม่น้ำ บางแห่งก็เป็นสะพานข้ามถนน  ซึ่งสิ่งที่ทำให้งานประสบความสำเร็จเพราะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง + นักออกแบบเจ๋งๆ ภายในชุมชน ทำให้เกิดการใช้งานอย่างแท้จริง ทั้งยังสวยงามเป็นหน้าเป็นตาให้แก่เมืองอีกด้วย

ทางจักรยาน ประเทศเดนมาร์ค (ภาพที่ 9)
© www.visitcopenhagen.com

 

คลิปนี้จะพาไปทัวร์ทางขี่จักรยานต่างๆ (Car-Free Bridges) ในเมือง Copenhagen ค่ะ

Touring Copenhagen’s Car-Free Bridges from STREETFILMS on Vimeo.

 

ที่มา >> visitcopenhagen.com guardian.com , ArchDaily.com

ดูทางจักรยานสวยๆ ทางฝั่งยุโรปกันไปแล้ว เรามาดูทางจักรยานในฝั่งเอเชีย อย่างประเทศจีนกันบ้างค่ะ  เราพาไปกันที่เมืองเซี่ยเหมิน (Xiamen) มณฑลฝูเจี้ยน (Fujian) ประเทศจีน  งานนี้จริงจังมากขึ้น เป็นทางขี่จักรยานลอยฟ้า ที่มีความยาวถึง 7.6 กิโลเมตร ซึ่งยาวทีสุดในโลกณ ตอนนี้  ครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัย 5 พื้นที่ และ 3 ย่านธุรกิจใหญ่ๆ ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Dissing + Weitling อีกเช่นกัน  โดยรัฐบาลมีจุดประสงค์แก้ไขปัญหารถติดในเมือง สนับสนุนให้คนขี่จักรยาน และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แถมการสร้างทางขี่จักรยานยังถูกกว่าการสร้างถนนด้วย

ทางจักรยานลอยฟ้า ประเทศจีน (ภาพที่ 1)
© www.treehugger.com

 

ชาวเมืองในเมืองนิยมการขี่จักรยานกันมากกว่าแต่ก่อน  บ้างก็ใส่ใจสุขภาพหรือสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การขี่จักรยานจึงเป็นกิจกรรมที่ง่ายที่สุดในการเริ่มต้น  ทั้งยังเลี่ยงรถที่ติดมากๆๆๆ ในเมืองได้ดีอีกด้วย โดยเฉพาะการเดินทางในระยะทางสั้นๆ

ทางจักรยานลอยฟ้า ประเทศจีน (ภาพที่ 2)
© www.treehugger.com

 

และเนื่องจากถนนและทางเต็มไปด้วยรถยนต์และผู้คนไปหมดแล้ว งานนี้สถาปนิกจึงออกแบบให้ทางขี่จักรยานสูงขึ้นจากพื้นถนน 5 เมตร แต่ยังอยู่ต่ำกว่าทางรถไฟ เพื่อให้ทางขี่จักรยานเป็นอิสระ พ้นจากคนเดินไปเดินมาบนถนนและรถยนต์ จะได้ไม่ต้องขี่ๆ หยุดๆ กันบ่อย

ทางจักรยานลอยฟ้า ประเทศจีน (ภาพที่ 6)
© www.dezeen.com

 

ภาพจากมุมสูงค่ะ

ทางจักรยานลอยฟ้า ประเทศจีน (ภาพที่ 4)
© www.treehugger.com

 

ทางขี่จักรยานโครงสร้างเหล็กที่นี่จะทาสีเขียว ถนนกว้าง 4.8 เมตร  ผิวเรียบและยาวไม่มีสะดุด สามารถขี่จักรยานพร้อมกันได้หลายคัน แต่ก็ยังมีรั้วกันตกสีขาวกั้นตลอดทางเพื่อความปลอดภัย

ทางจักรยานลอยฟ้า ประเทศจีน (ภาพที่ 5)
© www.dezeen.com

 

จุดขึ้น-ลง จะอยู่ใกล้กับท่ารถโดยสาร BRT , หน้าศูนย์การค้าใหญ่ๆ หรือส่วนสาธารณะอื่นๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุนระบบ feeder ที่มีประสิทธิภาพค่ะ

ทางจักรยานลอยฟ้า ประเทศจีน (ภาพที่ 3)
© www.treehugger.com

 

ดูลองคลิปวิดีโอที่พาทัวร์ดูการใช้งานจริงของชาวจีนกันนะคะ

 

ที่มา >>> Dezeen.com , Treehugger.com

บทความนี้คงทำให้เพื่อนๆ ได้เห็นไอเดียการสร้างและพัฒนาพื้นที่สำหรับการเดินทางด้วยจักรยานในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพกันบ้าง  เมื่อหันมามองทางจักรยานที่ทำกันแบบขอไปทีในกรุงเทพฯ  แล้วก็ใช้ประโยชน์จริงไม่ได้เต็มที่  ก็นึกไม่ออกว่าจะบรรยายอะไรต่อไป  ก็ได้แต่หวังว่าในอานคตจะมีผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเข้ามาพัฒนาเมืองด้วยวิสัยทัศน์ที่ดีและสร้างสรรค์กันต่อไปในอนาคตนะคะ  : D

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (1)
  1. Dear yusabuy.com. Thank you for a great article. However, most of the photos belongs to us and should be credited “DISSING+WEITLING architecture”. We would appreciate it, if you correct ít under the media: photos/films 4+5+6+10 and the rest. Thanks!

back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก