Rhythm Asoke 2 กับงาน Every Inch Matters”: Principles of Japanese Design จัดโดย AP

· 1 min read

เมื่อเดือนที่แล้ว AP ปล่อยข่าวคอนโดใหม่ออกมา 3 ตัว คือ Rhythm Asoke 2 , Rhythm Sukhumvit 36-38 และ Aspire รัชดา-วงศ์สว่าง  โดยแถลงว่าเป็นความร่วมมือกันพัฒนาโครงการกับบริษัท Mitsubishi Estate Group ครับ  เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา AP เลยจัดงานบรรยายสัมมนาเล็กๆขึ้นที่ Thailand Creative & Design Center (TCDC) ซึ่งอยู่ที่ชั้น 6 ของเอ็มโพเรียม   เป็นการเชิญสถาปนิกจาก Mitsubishi Jisho Sekkei  Inc.  2 คนมาบรรยายให้ฟังในหัวข้อ “Every Inch Matters”: Principles of Japanese Design”  งานนี้ไม่ได้เน้นขายของเท่าไหร่ครับ  อยู่สบายได้มีโอกาสแวะเข้าไปนั่งฟังมา  เลยเก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝากกัน

……ที่สำคัญ มีรูปของ Rhythm Asoke II แพลมๆมาให้ดูเป็นน้ำจิ้มด้วย…….

พาเข้ามาดูในงานกันครับ

Rhythm Asoke 2 -(01)

บรรยากาศก่อนเริ่มงาน  เก้าอี้นี่หลากสีดีเหลือเกิน

Rhythm Asoke 2

คุณญารินดา บุนนาค  มาเป็นพิธีกรให้ในวันนี้

Rhythm Asoke 2

เริ่มงานแล้ว … ผู้บรรยาย 2 คนจาก  Mitsubishi Jisho Sekkei คือ Mr. Tetsura Okusa  และ Mr.Soichiro Toba  เริ่มบรรยายไปเรื่อยๆครับ  เริ่มจากการเล่าถึงแนวคิดการออกแบบของตัวเอง

Rhythm Asoke 2

มีการเสริมเรื่องการวางผังเมืองต่างๆ  ในรูปที่เห็นนี่เป็นเมืองโยโกฮาม่า  พอดูแบบนี้แล้วหันกลับมาดูกรุงเทพฯบ้านเรา …. มันช่างน่าน้อยใจจริงๆ

Rhythm Asoke 2

หลังจากนั้นก็มีไอเดียการวางผังเมืองที่น่าสนใจตามมาอีกหลายอย่างทีเดียวครับ  โดยทั้ง Mr. Tetsura Okusa  และ Mr.Soichiro Toba  ยก case study  ของการพัฒนาเมืองในเขต Marunochi  ซึ่งเป็นเขตธุรกิจสำคัญของโตเกียวและยังติดกับพระราชวัง Imperial Palace ด้วย  แนวคิดของการพัฒนาผังเมืองที่นำมาเสนอก็มีหลายรูปแบบ  ทั้งการสร้างพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่สาธารณะ (public area)

Rhythm Asoke 2

การคำนึงถึงพื้นที่สีเขียวและการหมุนเวียนของอากาศ

Rhythm Asoke 2

รวมไปถึงการทำระบบหมุนเวียนน้ำเสียที่ใช้แล้วนำมาบำบัดและใช้ประโยชน์อีกครั้งนึง

Rhythm Asoke 2

หลังจากนั้นทั้งสองคนก็แชร์ไอเดียเกี่ยวกับหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นให้ฟังกัน  มีอยู่ 9 ข้อครับ  ช่วงนี้จะดูเป็นวิชาการทางสถาปัตยกรรมหน่อย  คนทั่วๆไปภายนอกที่เข้ามาฟังอาจจะไม่ค่อยอินเท่าไหร่  ผมเล่าสรุปในแต่ละข้อให้อ่านกันคร่าวๆนะครับ

เริ่มจากข้อแรก คือ “Beauty of Transmission”  เพราะสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นนั้นไม่ต้องการเปิดเผยสเปซทั้งหมดพร้อมกัน  แต่มีมุมมืืดมุมสว่างให้ดูลึกลับและจินตนาการต่อได้

Rhythm Asoke 2

“Intermediate Region” จะต้องสร้างแนวของการแบ่งพื้นที่ของอาคารระหว่างภายนอกและภายในให้ชัด

Rhythm Asoke 2

ต่อมาคือ “Light and Shadow” เวลาออกแบบต้องให้ความสำคัญกับความมืดและความสว่างของสเปซในแต่ละจุด

Rhythm Asoke 2

ข้อ 4 คือ “Beauty of Asymmetry”  สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมักจะเลือกออกแบบให้สมดุลแบบไม่สมมาตร  คือไม่ได้เหมือนกันทั้งซ้ายและขวาแต่ก็ยังดูสมดุลอยู่

Rhythm Asoke 2

ข้อ 5 คือ “Sequence of Alternation Turns”  ทั้ง 2 ผู้ออกแบบบอกว่า  สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นนั้นจะออกแบบให้มีลำดับการเข้าถึงเป็น step by step คนที่เดินเข้าไปในอาคารจะได้รับประสบการณ์และมุมมองต่างกันไปเรื่อยๆ  มีลำดับการเข้าถึง

Rhythm Asoke 2

จากนั้นก็เป็นเรื่องของ “Beauty of Defected Line” ซึ่งจะเน้นความงามของเส้นโค้งเป็นหลักครับ

Rhythm Asoke 2

“Horizontality of the Eaves”  พูดถึงเรื่องการออกแบบให้อาคารมีชายคาลึก  ซึ่งจะสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศครับ  แล้วเส้นสายของแนวชายคาก็ทำให้ดูนิ่ง สงบ และทำให้อาคารทั้งหมดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

Rhythm Asoke 2

สุดท้ายคือเรื่อง “Borrowed Landscape” เป็นการ “ขอยืม” วิวจากด้านนอกมาใช้ครับ

Rhythm Asoke 2

 

หลังจากพูดถึงหลักการออกแบบจบไปทั้ง 9 ข้อแล้ว  ทั้ง Mr. Tetsura Okusa  และ Mr.Soichiro Toba  ก็เปิดให้ดูพระเอกของงานนี้ คือ Rhythm Asoke II” นั้นเอง

หน้าตาแบบนี้นะครับ  อยู่ตรงข้ามกับ Rhythm Asoke ตัวแรกเลย

คอนโด Rhythm Asoke2 Rhythm อโศก2

คอนโด Rhythm AsokeII Rhythm อโศก2

 

โดยเริ่มตั้งแต่หน้าตาของอาคาร Rhythm Asoke II จะใช้ลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่นอย่าง Origami คือ ศิลปะในการพับกระดาษเพื่อสร้างสรรค์รูปทรงของวัตถุต่างๆ ขึ้น ดังนั้นจึงคาดเดาได้ว่า Façade ของ Rhythm Asoke II น่าจะมีความน่าสนใจไม่น้อย รวมถึงจะใช้ลักษณะเช่นนี้ภายในบริเวณโถง Lobby เช่นกัน

Rhythm Asoke 2 -(39)

คอนโด Rhythm AsokeII Rhythm-อโศก

 

หลักการต่อเป็นจะเป็นการดึงเอาบรรยากาศภายนอกมาเป็นส่วนหนึ่งของภายในอาคาร เป็นการใช้กระจกบานใหญ่บริเวณ Lobby เพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกับระหว่างการใช้งานภายใน และภายนอกอาคาร และจะตกแต่ง landscape ด้านนอกเป็นลักษณะของสวนญี่ปุ่น เพื่อดึงเอาธรรมชาติมาเชื่อมโยงกับภายใน lobby

Rhythm Asoke 2 -(37)

อีกลักษณะที่สำคัญที่มักจะเห็นตามบ้านหรือ หรือวัดในญี่ปุ่น คือ “Engawa” คือ เฉลียง หรือชาน ที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าจะอยู่ในส่วนไหน แต่คาดว่าน่าจะเห็นในส่วนของ fin บังแดด และระเบียงภายในห้อง

นอกจากนี้ ยังจะได้เห็นการออกแบบแสงไฟ Light and Shadow มากขึ้นบริเวณ lobby และสวนญี่ปุ่นด้านนอกอาคาร และสุดท้ายคือการใช้หลัก Koshi and Shoji ซึ่ง Koshi คือระแนงไม้ ส่วน Shoji คือหน้าต่าง ทั้งสองอย่างนี้จะหมายถึงลักษณะของประตูบานเลื่อนที่เป็นกระดาษสาของญี่ปุ่น หากนำมาใช้ในการออกแบบตกแต่ง façade ด้านนอกอาคาร ตามแบบของ Mitsubishi Jisho Sekkei จะทำให้เกิดลูกเล่นที่แปลกตาทั้งในเวลากลางวัน และเมื่อเปิดไฟในเวลากลางคืน

Rhythm Asoke 2 -(38)

 

สรุปหลักการออกแบบที่นำมาใช้คอนโด Rhythm AsokeII กันเป็นข้อๆนะครับ

  • Origami & Folded Façade จะใช้ในส่วนของ Lobby
  • Large Window ใช้เพื่อเชื่อมบรรยากาศภายในและภายนอกอาคาร ใช้ในส่วนของ Lobby
  • Japanese Garden บริเวณด้านนอกอาคาร มองเห็นได้จาก Lobby เพื่อเชื่อมโยงธรรมชาติเข้ามา
  • Engawa ระเบียง หรือเฉลียง
  • Light & Shadow แสงและเงาบริเวณสวนญี่ปุ่นด้านนอก และภายใน Lobby
  • Koshi ระแนงไม้ จะใช้ตกแต่ง façade อาคารด้านนอกบริเวณ podium และ Shoji หน้าต่าง  หรือประตูบานเลื่อนของญี่ปุ่นที่มักจะเป็นกระดาษสา จะใช้ลักษณะความโปร่งแสงมาตกแต่ง façade ด้านนอก เพื่อเพิ่มลูกเล่นในตอนกลางคืนเวลาเปิดไฟ

ส่วนเวอร์ชั่นจริงจะออกมาเป็นอย่างไรต้องรอดูกันอีกทีครับ  ไม่รู้ว่าจะปรับแก้ดีไซน์จากในรูปอีกหรือเปล่า  ใจก็ได้แต่หวังว่า AP อย่าเปิดราคาโหดมากนัก  เพราะ Rhythm ช่วงหลังๆนี่ราคาแร๊งแรงเหลือเกิน  ^^”

Rhythm Asoke 2 -(41)

ก่อนจากกันกับงานที่ไปนั่งฟังมา  มีคำถามจากผู้ฟังคนนึงน่าสนใจดี

…. เค้าถามว่าดีไซน์ของคอนโดในไทยกับในญี่ปุ่นนั้นมีตัวอย่างอะไรที่แตกต่างกันบ้าง ….

คำตอบคือ “Pantry ครัว” !!!!!

“ห้องครัว” ในคอนโดของไทยกับญี่ปุ่นนั้นต่างกันมากครับ โดยครัวของไทยส่วนใหญ่เลยจะเห็นหน้าเข้าหากำแพง ในขณะที่ดีไซน์ pantry ครัวของคอนโดในญี่ปุ่นนั้นจะหันหน้าออกข้างนอกเสมอ  และไม่มีวันวางตำแหน่งหันหน้าชนกำแพงแบบดีไซน์ของไทยแน่นนอน

เพราะคนญี่ปุ่นจะไม่อยากให้คุณแม่ซึ่งถือเป็นแม่บ้านคนสำคัญของครอบครัวต้องทำครัวโดยหันหน้าเข้าหากำแพง   คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับแม่บ้านซึ่งเป็นคนทำอาหาร  เวลาเข้าครัวทำอาหารก็ควรจะหันหน้าออกเพื่อมองเห็นวิว  และที่สำคัญคือเพื่อให้มองเห็นคนอื่นๆ ของครอบครัว เวลานั่งดูทีวี หรือนั่งเล่น จะเกิดบทสนทนาภายในครอบครัวขึ้น   เป็นกุศโลบายที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

ตอนนี้ผมชักอยากรู้แล้วว่า Rhythm Asoke 2 จะวางตำแหน่ง Pantry ครัวตามแบบไทยหรือแบบญี่ปุ่น  ^^

ส่วนเรื่องสเปซอื่นๆก็คงรอดูว่าจะได้เห็นลักษณะการจัดวางสเปซทางเดินภายในอาคารตามหลักการออกแบบที่ Mr. Tetsura Okusa  และ Mr.Soichiro Toba  เล่าให้ฟังกันมากน้อยขนาดไหน

ทั้ง 3 โครงการของ AP จะมาเปิดตัวในงาน Rethink Space  ชั้น 1 สยามพารากอน วันที่ 15-18 พฤษภาคมนี้ครับ  ไว้อยู่สบายจะไปเก็บบรรยากาศและข้อมูลมาฝากกัน

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (1)
  1. ขายดาวน์ เท่าทุนครับ RHYTHM อโศก 2 ผมได้ราคา Presale มาเลยครับ 1 ห้องนอน 28 ตร.ม. ชั้น 19 ห้อง B12 ห้องวิวสระน้ำ วิวด้านล่างเป็นสระ หันหน้าไปทาง พื้นที่สีเขียว / Airport Link ไม่โดน Block View แน่นอนครับขายดาวน์ เท่าที่จ่ายจริง เจ้าของขายเอง เท่าทุนเลยครับ ติดต่อเบอร์ 0891275535

back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก