การจัดตกแต่ง Indirect Lighting หรือไฟซ่อน ไฟหลืบ และเทคนิคการติดตั้ง [ไอเดียอยู่สบาย]

· 13 min read

สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาวอยู่สบาย ก่อนหน้านี้ไอเดียอยู่สบายได้เคยแนะนำ

“ไอเดียการจัดแสงสว่างภายในห้องบ้าน และคอนโดให้ได้บรรยากาศที่ดี” ไปแล้ว

ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆยังจำกันได้อยู่หรือเปล่าคะ

ถ้าจำกันไม่ได้ หรือยังไม่เคยอ่าน ลองตามกันไปอ่านได้นะคะ

 >>> การจัดแสงสว่างในบ้านและคอนโด <<<

(photo : pinterest.com)
(photo : pinterest.com)

คร่าวๆ คือ ครั้งนั้นได้นำเสนอให้เพื่อนๆได้รู้จักกับการจัดแสงสว่าง โดยแบ่งจากลักษณะของการใช้งานที่สามารถแบ่งออกได้เป็น แสงเพื่อการใช้งาน และแสงเพื่อสร้างบรรยากาศ หรือตกแต่ง

.
.
.
.

แต่ แต่ แต่ ในครั้งนี้อยากจะมานำเสนอไอเดียการจัดแสงสว่าง

ในอีกลักษณะหนึ่งที่แบ่งจากลักษณะของการให้แสงสว่าง

และการกระจายของแสง สามารถแบ่งเป็น

1 แสงสว่างแบบส่องโดยตรง หรือที่เราทุกคนคุ้นหูกันว่า Direct Lighting

เป็นการกระจายของแสงจากแหล่งกำเนิดของแสงโดยตรง ส่องไปในบริเวณที่ต้องการ เพื่อการใช้งานทั่วไป เพื่อการใช้งานเฉพาะจุด หรือเพื่อสร้างบรรยากาศตกแต่งก็ได้ ให้ความเข้มของแสงได้ดีที่สุด ให้ความสว่างแก่พื้นที่ได้เป็นอย่างดี หากไม่ได้แอบหรี่ไฟจากระบบหรี่ไฟที่ติดตั้งไว้นะคะ

(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)

สังเกตุง่ายๆว่าไฟแบบไหนเป็นแบบ Direact Light จากการที่เราสามารถมองเห็นหลอดไฟได้อย่างชัดเจนภายหลังการติดตั้ง

(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)

2 แสงสว่างแบบส่องโดยอ้อม หรือ Indirect Lighting ซึ่งโดยส่วนมากทุกคนมักจะเรียกกันว่า ไฟหลืบ ไฟซ่อน

เป็นแสงที่เกิดจากการสะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิดแสง หรือหลอดไฟ ส่องกระทบไปบนพื้นที่ระนาบให้มีการส่องสว่าง สามารถกระจายแสง และให้แสงได้อย่างสม่ำเสมอสบายตา โดยส่วนมากมักจะใช้เพื่อสร้างบรรยากาศ และตกแต่ง มากกว่าให้แสงเพื่อการใช้งานทั่วไป  ซึ่งแบบ Indirect Light นี้ก็จะมองไม่เห็นหลอดไฟภายหลังการติดตั้งค่ะ

(photo : via)
(photo : via)

แต่ในความเป็นจริงแล้วในบางพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้ได้แสงสว่างที่จ้าเกินไปนั้นก็สามารถใช้ Indirect Lighting เพื่อการใช้งานทั่วไปได้ เช่น ใช้เป็นไฟส่องทางเวลากลางคืนภายในห้อง สำหรับใครที่อยากลุกเข้าห้องน้ำกลางดึก แต่ไม่อยากเปิดไฟทั้งห้องรบกวนคนที่นอนอยู่ให้ห้องเดียวกัน (ขอติดป้าย 18+ นะคะ) โดยมากมักติดตามใต้โต๊ะหัวเตียง หรือใต้เคาน์เตอร์อ่างล้างมือ

(photo : via)
(photo : via)

หรือตามสปาก็ใช้ไฟลักษณะนี้เป็นไฟเพื่อการใช้งาน

(photo : via)
(photo : via)

หรือแม้แต่ไฟฟลูออเรสเซสที่ติดบนฝ้าตามสำนักงาน หรือร้านกาแฟบางแห่งนั้น ก็มีการใส่กระจก ใส่อะคลีลิคครอบปิดตัวหลอดไฟไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้ได้แสงนวลสบายตามากขึ้น และไม่ทำให้เกิดแสงจ้าบนระนาบของพื้นที่ทำงาน

(photo : via)
(photo : via)

การติดตั้งระบบแสงชนิดนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงกว่าระบบการให้แสงสว่างแบบส่องโดยตรง และไม่เหมาะกับการติดตั้งกับฝ้าเพดานที่มีความสูงมาก หรือติดตั้งในบริเวณที่แหล่งกำเนิดแสงมีระยะห่างจากพื้นที่ระนาบที่แสงตกกระทบมากเกินไป

การติดตั้ง Indirect Lighting สามารถทำได้หลายวิธีนะคะ

ไอเดียอยู่สบายขอเสนอเทคนิคการติดตั้ง Indirect Lighting

ให้เพื่อนๆได้รู้จักกันซัก 8 วิธี ที่มักเห็นใช้กันทั่วไปค่ะ

  1. Cove Lighting
  2. Case Lighting
  3. Toe Kicks
  4. Under Cabinet / Shelf
  5. Curtain / Wall Washing
  6. Backlit Glass / Signage
  7. Railings / Architectural Details
  8. Backlit Mirrors
สีเหลืองที่แสดงในภาพ เป็นบริเวณที่แสงส่องกระทบนะคะ (photo : pinterest.com)
สีเหลืองที่แสดงในภาพ เป็นบริเวณที่แสงส่องกระทบนะคะ (photo : pinterest.com)

ว่าแล้วตามมาดูตัวอย่างไอเดียการจัดไฟตามเทคนิคทั้ง 8 วิธีกันเลยนะคะ . . . .

1

Cove Lighting

ติดตั้งตามหลืบ แบบให้แสงส่องกระทบด้านบน นิยมใช้เป็นไฟหลืบสำหรับหลุมฝ้าเพดาน

(photo : pinterest.com)
(photo : pinterest.com)
(photo : via)
(photo : via)

2

Case Lighting

ติดตั้งแบบมีตัวกรองแสง นิยมใช้ในลักษณะเป็นกล่องไฟ ให้แสงที่มลังเมลือง สามารถใช้ได้ทั้งในระนาบนอน และระนาบตั้ง ตัวกรองแสงที่ใช้ สามารถใช้วัสดุที่โปรงแสงแต่ไม่โปรงใส อาจจะเป็นได้ทั้งกระจกฝ้า อะคลีลิค หรือหิน

(photo : pinterest.com)
(photo : pinterest.com)
(photo : via)
(photo : via)

3

Toe Kicks

ติดตั้งแบบให้แสงส่องกระทบด้านล่าง เน้นให้แสงส่องกระทบลงพื้น จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับการติดตั้งแบบที่ 1 กลับทิศกันและไม่จำเป็นต้องมีปีกยื่นออกมาสำหรับบังตัวหลอดไฟ เนื่องจากเป็นการติดตั้งที่ระดับต่ำกว่าสายตามาก เหมาะใช้สำหรับส่องทางเดิน หรือขั้นบันได

(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)

4

Under Cabinet / Shelf

ติดตั้งใต้เคาน์เตอร์ หรือชั้นวางของ เพื่อให้แสงส่องกระทบวัตถุสิ่งของที่อยู่ภายใน ให้โดดเด่นสวยงามมากขึ้น

(photo : via)
(photo : via)

5

Curtain / Wall Washing

ติดตั้งแบบให้แสงสาดส่องเข้าหาผนัง ม่าน หรือพื้นระนาบแนวตั้ง โดยเน้นให้แสงมาจากทางด้านบน และปล่อยให้มืดดำในส่วนด้านล่าง

(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)

6

Backlit Glass / Signage

ติดตั้งแบบให้แสงสาดส่องเข้าหาผนัง หรือวัตถุอย่างทั่วถึงทั้งแนวระนาบตั้ง ต่างจากการติดตั้งแบบที่ 5 คือ ให้แสงทั้งส่องลง และส่องขึ้น และบางครั้งสามารถติดตั้งจัดซ่อนไฟเพื่อให้แสงจากทางด้านข้างด้วย นิยมใช้สร้างบรรรยากาศ และจุดเด่นให้กับระนาบตั้ง ผนัง ป้าย หรือช่องเจาะในผนัง

(photo : via)
(photo : via)

7

Railings / Architectural Details

ติดตั้งใต้มือจับราวบันได หรือรายละเอียดองค์ประกอบเล็กๆในงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ลักษณะการให้แสงจะใกล้เคียงการติดตั้งในแบบที่ 4 เพียงแต่จะมีระยะ หรือพื้นที่ติดตั้งหลอดไฟที่น้อยกว่ามาก

(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)

8

Backlit Mirror

ติดตั้งแบบให้แสงส่องออกมาโดยรอบวัตถุ นิยมใช้กับกระจกแต่งหน้าภายในห้องน้ำ ป้าย หรืองานประติมากรรมต่างๆ

(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)

จะเห็นได้ว่าเราสามารถใช้เทคนิควิธีติดตั้งหลายวิธีในพื้นที่เดียวกันได้สบายๆเลยค่ะ

(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)
(photo : via)

ส่วนการเลือกใช้หลอดไฟสำหรับการให้แสงแบบ Indirect Lighting นั้น สามารถเลือกใช้ได้หลากหลายด้วยกัน เน้นหลอดไฟที่มีลักษณะเป็นหลอดแนวยาว หรือเป็นสายยาว ไม่ว่าจะเป็น

  • หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) แบบหลอดยาว T12, T8 หรือ T5
(หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบหลอดยาว)
(หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบหลอดยาว)
  • หลอดไฟ LED (Light Emitting Diode) แบบหลอดยาว เหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp)

Lighting02_022

  • หลอดไฟ LED แบบเส้น หรือแบบสายยาง เช่น หลอด LED Cove Light, หลอด LED Rope Light หรือหลอด LED Strip Light

Lighting02_023

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ติดตั้งว่า มีลักษณะเป็นแนวตรงหรือโค้ง และมีพื้นที่ให้ติดตั้งหลอดไฟได้มากน้อยแค่ไหนนะคะ

สำหรับใครที่อยากรู้จักกับชนิดของหลอดไฟเพิ่มเติมสามารถ ดูได้จากไอเดียอยู่สบายเรื่องการซื้อหลอดไฟค่ะ

>>> “หลอดไฟ และการเลือกซื้อมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม” <<<

ลากันไปก่อนสำหรับครั้งนี้นะคะ พบกันใหม่กับไอเดียอยู่สบายในครั้งหน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก