วันนี้อยู่สบายพามาดูรายละเอียด โครงการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ทางรัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่บริเวณโครงการให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ประชาชนทุกคนได้ใช้สอยร่วมกันอย่างคุ้มค่า เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ (The New Landmark) ของประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการอเนกประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรรองรับการเดินทางด้วยจักรยาน (Bike Lane) รวมถึงใช้เป็นพื้นที่สำหรับการชมทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา การพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย และการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพและนันทนาการ ลองมาดูรายละเอียดกันดีกว่าค่ะ
โครงการพัฒนาริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีระยะทางทั้งหมดตามแผนพัฒนากว่า 50 กิโลเมตร จากบริเวณสะพานพระราม 7 ถึงบริเวณพื้นที่บางกระเจ้า
โดยช่วงระยะที่ 1 จะเริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีความยาวฝั่งละ 7 กิโลเมตร (รวม 14 กิโลเมตร) ซึ่งถ้าหากโครงการประสบความสำเร็จจะมีการสร้างทางเดินใน phase ถัดไปผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ไปถึงบริเวณบางกระเจ้า (ซึ่งเปรียบเสมือนปอดของกรุงเทพมหานคร) รวมระยะทางทั้งสองฝั่งยาว 50 กิโลเมตร
โครงการพัฒนาริมน้ำเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์หลักของโครงการ เพื่อจัดพื้นที่ให้บูรณาการกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ส่งเสริมการใช้จักรยานในการสัญจร พักผ่อนหย่อนใจ และนันทนาการ การกีฬา และการท่องเที่ยว รวมทั้งด้านการเดินทางปลอดภัยริมแม่น้ำที่มีทัศนียภาพสวยงามเป็นพื้นที่สัญลักษณ์ของประเทศ แต่จากรูปภาพที่นำเสนอออกมาในตอนแรกนั้น เป็นการสร้างเส้นทางจักรยานตลอดแนวริมแม่น้ำ มูลค่า 14,000,000,000 บาท (อ่านว่า!! หนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาท!!!!)
ซึ่งลักษณะของโครงการเป็นโครงสร้างพื้นคอนกรีตบนตอม่อเดี่ยวที่ยื่นไปในแม่น้ำ เจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง ความยาวฝั่งละประมาณ 7 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร มีขนาดของกว้างของพื้นที่ประมาณเกือบ 20 เมตร โดยระดับพื้นทางเดินนั้นจะอยู่ระดับเดียวกับเขื่อนเดิม และเพิ่มระดับความสูงเขื่อน อีก 0.45 เมตร ซึ่งรวมความสูงเขื่อนทั้งหมดจะอยู่ที่ 3.25 เมตร จากระดับน้ำทะเลและมีลักษณะเดียวกันตลอดแนว
ความยาวของโครงการเปรียบเทียบได้กับความยาวรอบสนามฟุตบอลมาตรฐาน 40 รอบ โดยรูปแบบการก่อสร้างมีการปักเสาเข็มลงในแม่น้ำเจ้าพระยากว่า 468 ต้น ขนาดของตอม่อมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร นอกจากนี้ขนาดของทางจักรยานความกว้างฝั่งละ 12-15 เมตร สามารถเปรียบได้กับความกว้างของทางด่วนศรีรัตน์ ส่วนขนาดของพื้นที่โครงการ 168,000 ตารางเมตร เทียบเท่ากับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง
ดีเหมือนกันครับ เราจะได้มีเอกลักษณ์ประจำประเทศ ทางบกเรามีต่อหม้อไปดอนเมือง ทางน้ำเรามีต่อหม้อไปพระรามเจ็ด
อย่าบุกรุกนักเลยครับ ทะเลบุกรุกทำท่าเรือ เขาใหญ่บุกรุกทำถนน หนองงูเห่าบุกรุกทำสนามบิน นี่คิดจะบุกรุกแม่น้ำทำทางคนเดินอีกหรือ จะทำอะไรก็ทำบนฝั่งเถอะครับ วันหลังผมจะบอกข้อเสียให้ทราบ
สนับสนุนโครงการดังกล่าว แต่
1….จะต้องไ่ทำโครงการลุกล้ำลำน้ำ หรือตอกเสาต่อหม้อลงในน้ำเด็ดขาด ด้วยจะเกิดผลเสียตามมามากมาย
2…จะต้องออกแบบโครงการเพื่อการสัญจรทางน้ำ ทางบกได้อย่างสะดวกเหมาะสม
3..จะต้องคงไว้ซึ่งวิถีริมน้ำ วัฒนธรรม และการพัฒนาเพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว
4. โครงการจะต้องคำนึงถึง ภาวะทางชลศาสตร์ น้ำขึ้น-ลง น้ำท่วมน้ำแล้ง และการประปา อย่างถูกต้องเหมาะสม
5..ทุกคนในประเทศนี้เข้าถึงได้และใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสม ทุกคน
ถ้า….” .โครงการตอกเสาเข็มลงในน้ำเมื่อไหร่ เหมือนใช้เข็มเล่มใหญ่แทงใจเจ้าแม่คงคาเมื่อนั้น “