ฺBSR ชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู เตรียมเริ่มก่อสร้าง กำหนดค่าโดยสาร 14-42 บาท ระยะสัญญา 33 ปี

· ~ 1 min read

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านการอนุมัติเรียบร้อยเมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมาครับ  โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับผลการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)  และรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)  กำหนดอัตราค่าโดยสาร 14-42 บาท  โดยผู้ชนะการประมูลทั้ง 2 เส้นทางคือ กิจการร่วมค้า BSR Joint Venture  คาดว่าจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 3 ปี 3 เดือน โดยมีระยะโครงการตลอดสัญญา 33 ปี

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สายสีชมพู
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

กลุ่มบริษัท BSR JV ประกอบด้วย 3 บริษัท คือ

  • บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ฺBTS)
  • บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH)
  • บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (STEC)

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และ สายสีชมพู

(สามารถกดซูมดูตำแหน่งแต่ละสถานีได้ตรงกับที่ตั้งจริงเลยนะครับ)

 

สำหรับสัญญาจะเป็นในรูปแบบ PPP Net Cost  โดยมีส่วนที่รัฐบาลจะรับภาระในการลงทุนของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู รวมกัน 60,400 ล้านบาท  แยกย่อยดังนี้

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง)  วงเงิน 31,063 ล้านบาท

  • ค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน  และค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 6,013 ล้านบาท
  • ค่าสนับสนุนงานก่อสร้างโยธา 25,050 ล้านบาท  โดยแบ่งจ่าย 10 ปี ปีละ 2,205 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี)  วงเงิน 29,347 ล้านบาท

  • ค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน  และค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 6,847 ล้านบาท
  • ค่าสนับสนุนงานก่อสร้างโยธา 22,250 ล้านบาท  โดยแบ่งจ่าย 10 ปี ปีละ 2,250 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

โดยรูปแบบของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้ารสายสีชมพูจะเป็นแบบรางเดี่ยว (Monorail) ทั้ง 2 เส้นทาง  ซึ่งในการยื่นซองประมูลมีผู้ยื่นซอง 2 ราย คือ BSR และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM  สำหรับผลตอบแทนที่ทาง BSR JV  ให้กับทาง รฟม. นั้น ในปีที่ 1-10 ไม่ได้เสนอผลตอบแทน  ปีที่ 11-15 เสนอที่ 5 ล้านบาทต่อปี , ปีที่ 21-25 เสนอที่ 15 ล้านบาทต่อปี , ปีที่ 26-30 เสนอที่ 20 ล้านบาทต่อปี

 

ทั้งนี้  ในส่วนของแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่ขยายจากบริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปจนถึงบริเวณสี่แยกรัชโยธิน  และสายสีชมพูที่เชื่อมต่อเข้าไปยังเมืองทองธานี  ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก