หลายคนน่าจะพอทราบข่าวคราวของตลาดคอนโดในกรุงเทพฯ ว่าค่อนข้างซบเซาลง… ซึ่งวันนี้ ทีมงานก็ได้ข้อมูลมาจาก ไนท์แฟรงค์ประเทศไทย (Knight Frank) ที่ได้ทำการวิเคราะห์ สรุปภาพรวมตลาดคอนโดกรุงเทพฯ ปี 2562 รวมถึงแนวโน้มในปี 2563 ออกมาให้ได้อ่านกัน รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้เลยครับ…
ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยสรุปภาพรวมตลาดคอนโดกรุงเทพฯ ปี 2562 และแนวโน้มปี 2563
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดคอนโดมิเนียมปี 2562 และแนวโน้มปี 2563
ภาวะเศรษฐกิจ
- ภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา
- อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่ำ
- สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน
- ความขัดแย้งระหว่าง สหรัฐฯ กับ อิหร่าน
- ค่าเงินบาทแข็งตัว
กำลังซื้อของผู้บริโภค
- หนี้ครัวเรือนสูง
- มาตรการควบคุมสินเชื่อ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย
- ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน
อุปสงค์ / อุปทาน
- คอนโดมิเนียมเหลือขายมีจำนวนมาก
- อุปสงค์ลดลงเนื่องจาก กำลังซื้อชาวต่างชาติลดลง นักเก็งกำไรและนักลงทุนลดลงไปจากตลาด และผู้ซื้อหลักซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง
นโยบายจากภาครัฐ
- ภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นในการถือครองอสังหาริมทรัพย์
- ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ลดค่าจดทะเบียนและค่าโอนสำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และลดภาระการผ่อนดาวน์จำนวน 50,000 บาท สำหรับบ้านจำนวน 100,000 หลัง
ทิศทางแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ปี 2563
- อัตราการขยายตัวอุปทานคอนโดมิเนียมกรุงเทพฯ ลดลงในปี 2562 กว่า 30% และยังคงมีแนวโน้มลดลงในปี 2563
- กำลังซื้อในปี 2563 มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2562 คือประมาณ 35,000 ยูนิต
- สภาพตลาดมีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่สมดุลในปี 2564
- ระดับราคามีแนมโน้มทรงตัวหรือปรับลดลง
- การพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมใหม่มีแนวโน้มกระจายตัวสู่พื้นที่ชานเมืองตามแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังพัฒนา
- นักพัฒนาจะชะลอตัวการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียม และหันเหความสนใจไปยังภาคอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ระยะยาวได้ เช่น โรงแรมและสำนักงาน
- การพัฒนาโครงการใหม่จะเป็นการพัฒนาโครงการแบบ Mixed use development เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการพึ่งพิงจากตลาดเดียว
- นักพัฒนาปรับแผนไปสู่การเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น เช่น บ้านเดี่ยว, ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านแฝด เนื่องจากตลาดคอนโดมิเนียมถดถอยลงในปี 2562
- จะมีอุปทานใหม่ด้านคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากนับจากนี้เป็นต้นไป
- มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดวิกฤติฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่คล้ายคลึงกับวิกฤติในปี 2540
- นักพัฒนารายย่อยหรือผู้ที่ไม่มีเงินลงทุนสำรองที่แข็งแกร่งจะหายออกไปจากตลาด
- อุปสงค์ด้านคอนโดมิเนียมจะขึ้นอยู่กับความต้องการจากผู้ซื้อจริงเท่านั้น จำนวนนักลงทุนที่ลดลงเป็นผลเนื่องมาจากนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV Policy) และจำนวนผู้ซื้อชาวต่างชาติที่ลดลงเป็นผลเนื่องมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย
- สงครามราคาในตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ นักพัฒนาไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาคอนโดมิเนียมอีกต่อไป ผู้ซื้อคือผู้กำหนดราคา
- ราคาที่แข่งขัน รูปแบบ และฟังก์ชั่นของคอนโดมิเนียมที่เหมาะสมกับความต้องการจะชนะใจลูกค้าได้ในปัจจุบัน
- รัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจโดยการมีโครงการเมกะโปรเจคเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น