ไอเดียการจัดวางเตียงนอนตามหลักฮวงจุ้ย นอนหลับแบบสุขกายสบายใจ

· 1 min read

บทความในวันนี้จะนำเสนอในเรื่องของ การจัดวางเตียงนอน ในเรื่องของการหันทิศหัวเตียง โดยจะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักฮวงจุ้ยมาฝากกันนั่นเอง.. ก่อนอื่นก็ต้องขอเกริ่นว่า “ศาสตร์ฮวงจุ้ย” เป็นศาสตร์จีนโบราณได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนมากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนไปตามความเชื่อบางประการของคนในแต่ละพื้นที่ด้วย และสิ่งที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญก็จะเป็นเรื่องของการนำหลักฮวงจุ้ยมาปรับใช้ในงานออกแบบที่อยู่อาศัยมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านมีความสุข หรือความเจริญในหน้ที่การงานครับ.. โดยการจัดวางเตียงนอน ไม่ว่าจะเป็นทิศเหนือ, ทิศใต้, ทิศตะวันออก หรือแม้ทิศตะวันตก คนบางส่วนยังให้ความสำคัญอยู่ เพราะมีความเชื่อว่า ทิศหัวนอน หรือทิศเตียงนอน มีผลต่อชีวิตประจำวัน

MAYFAIR PLACE VICTORY MONUMENT

นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่มองว่าทิศไหนก็ได้ทั้งนั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วมักถือคติไม่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก เพราะถือว่าเป็นทิศคนตาย ในเชิงวิทยาศาสตร์ อธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ควรนอนหันหัวไปทางทิศตะวันออก คือ ตอนเช้าแสงอาทิตย์ส่องจากหัวนอน (ทิศตะวันออก) จะส่องมายังผนังฝั่งตรงข้ามด้านทิศตะวันตก สะท้อนเข้าหาหาผู้นอน.. ส่วนการไม่ควรหันหัวไปด้านทิศตะวันตก เพราะแสงอาทิตย์จะส่องเข้าตาปลุกเราตอนเช้า และตอนบ่ายจนถึงกลางคืน ทิศหัวนอนด้านตะวันตกจะร้อนเนื่องจากรับแสงแดดจัดตอนบ่าย อาจส่งผลต่อสุขภาพจากความร้อนที่สะสมได้ครับ


มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า เกริ่นมามากแล้ว..


การจัดวางเตียงนอนตามหลักฮวงจุ้ย โดยการวิเคราะห์ตามหลักฮวงจุ้ยนั้นจะคำนึงถึงเรื่องของพื้นที่ห้องและการจัดวางเครื่องเรือน โดยเฉพาะการวางเตียง หรือเรียกง่ายๆว่า “การหันทิศหัวเตียง” นั้นเองครับ โดยมี 6 ข้อ ดังนี้

ไอเดียการจัดวางเตียงนอนตามหลักฮวงจุ้ย

1. ไม่วางเตียงตรงกับแนวทิศเหนือ, ใต้, ตะวันออก หรือตะวันตกพอดี เพื่อลดความขัดแย้งกับแนวแม่เหล็กโลก เพราะมีผลต่อการได้รับพลังงานที่ทำให้สามารถจดจำความฝัน

2. การหันหัวเตียงไปทางทิศตะวันตก มีความเชื่อแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และศาสนา ดังนี้

  • คนที่เกิดธาตุน้ำหรือทอง ในทางฮวงจุ้ยให้หันหัวเตียงไปทางทิศตะวันตกเพราะเป็นการส่งเสริม แต่ศาสนาพราหมณ์ทำพิธีเกี่ยวกับความตายทางทิศตะวันตก
  • ความเชื่อเรื่องมงคล ไม่เป็นมงคล ทิศตะวันออกดีกว่าทิศตะวันตก เหนือดีกว่าใต้
  • ทิศที่พระอาทิตย์ตก เป็นสัญญาณให้หยุดงาน คนในสมัยก่อนมักหันหัวนอนทางทิศที่พระอาทิตย์ขึ้นเป็นสัญญาณเริ่มงาน
  • การหันหัวนอนไปทิศตะวันตกในตอนเช้า พระอาทิตย์จะสาดแสงส่องเข้าตาผู้นอน รบกวนการนอน (กรณีที่มีหน้าต่างทางทิศตะวันออก)

3. การห้ามนอนเอาปลายเท้าชี้ไปทางหน้าบ้าน 

4. ตำแหน่งของหัวเตียงตามราศีตะวันตก และตะวันออก

  • แต่ละคนมีตรีลักษณ์ประจำ คือ ราศีตะวันตกและราศีตะวันออก ซึ่งในแต่ละราศีจะมีทิศที่ดีสี่ทิศ โดยนับจากปีเกิดเป็นเกณฑ์ เช่น คนที่เกิดในราศีตะวันตกห้ามนอนหันทิศไปทางราศีตะวันออก

5. การวางเตียงในทิศที่เป็นมงคลกับผู้ที่อยู่อาศัย การวางเตียงหันไปทางทิศใดต้องสมพงศ์กับดวงชะตาของผู้นอน โดยการวางเตียงในทิศต่าง ๆ มีความหมายเป็นมงคล ดังนี้

  • ทิศเหนือ: ส่งผลทางด้านธุรกิจ
  • ทิศใต้: ส่งผลด้านชื่อเสียงและเกียรติยศ
  • ทิศตะวันออก: ส่งผลด้านครอบครัวที่ดี
  • ทิศตะวันตก: ส่งผลทางด้านลูกหลาน เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและมีปัญญา
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ: ส่งผลทางด้านผู้มีสติปัญญาดีและมีความรู้ความสามารถมาก
  • ทิศตะวันออกเฉียงใต้: ส่งผลด้านความมั่งคั่ง
  • ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ: ส่งผลทางด้านเดินทางไกลและมีความสนใจกับสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน
  • ทิศตะวันตกเฉียงใต้: ส่งผลทางด้านคู่ครองที่ดี

6. การวางเตียงให้ถูกกับทิศปีเกิดของผู้นอน

  • การวางเตียงหันไปทางทิศใดต้องสมพงศ์กับดวงชะตาของผู้นอน และการที่จะหันเตียงนอนไปทางใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้นอนเป็นธาตุอะไรเพราะธาตุกับทิศจะต้องสัมพันธ์กัน

ไอเดียการจัดวางเตียงนอนตามหลักฮวงจุ้ย (ภาพที่2)


สรุป.. ไอเดียการจัดวางเตียงนอนตามหลักฮวงจุ้ย


…เรามาสรุปประเด็น “การจัดวางเตียงนอนตามหลักฮวงจุ้ย” กันเลยครับ

  1. ไม่วางเตียงตรงกับแนวทิศเหนือใต้ หรือตะวันออกหรือตะวันตกพอดี
  2. การหันหัวเตียงไปทางทิศตะวันตก
  3. การห้ามนอนเอาปลายเท้าชี้ไปทางหน้าบ้าน
  4. ตำแหน่งของหัวเตียงตามราศีตะวันตกและตะวันออก
  5. การวางเตียงในทิศที่เป็นมงคลกับผู้ที่อยู่อาศัย
  6. การวางเตียงให้ถูกกับทิศปีเกิดของผู้นอน

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • คชานัน เทวะ เจ่าอุ่ง. (ม.ป.ป.). การจัด ห้องนอน ตามหลัก ฮวงจุ้ย เพื่อรักยืนยาว. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.kachanundeva.com.
  • มาโนช ประภาษานนท์. (2560). ไขปริศนาฮวงจุ้ยตามหลักเหตุและผล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: มติชน.
  • วิศิษฏ์ เตชะเกษม. (2545). ฮวงจุ้ยสำหรับผู้อาศัยทาวน์เฮาส์. กรุงเทพฯ: ควอลิตี้วอยซ์.
  • เวชสวรรค์ หล้ากาศ. (2545). อิทธิพลความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยที่มีผลต่องานออกแบบและงานก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
  • ศิขริน ปิตะวัน. (2541). ฮวงจุ้ยศาสตร์และศิลป์แห่งที่อยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: สร้อยทอง.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก