ไอเดีย Tropical Design การออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับพื้นที่เขตร้อนชื้น ที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติ

· 1 min read

เริ่มแล้วนะคะกับฤดูกาลหน้าร้อนเมืองไทยที่ทั้งร้อนทั้งอบอ้าวทั้งชื้นไปพร้อมกัน เจอแบบนี้ค่าไฟฟ้าขึ้นกันทุกบ้านแน่นอน จะมีดีไซน์แบบไหนบ้างที่จะตอบโจทย์เมืองร้อนแบบบ้านเรา? ต้องบอกเลยว่ามีค่ะ คีย์เวิร์ดสำคัญของการออกแบบที่ตอบสนองภูมิประเทศที่มีอากาศแบบร้อนชื้นนี้เรียกว่า “TROPICAL DESIGN” หลายคนอาจจะคุ้นชื่อสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้นมาบ้าง แต่ถ้าไม่คุ้นตามมาอ่านกันได้เลย

 

tropical home

ถ้าพูดถึง Tropical Architecture ก็คงต้องหมายถึงสถาปัตยกรรมสำหรับพื้นที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ดีไซน์มาเพื่อการอยู่อาศัยในอุณหภูมิแบบเมืองไทยโดยเป็นอาคารหรือบ้านเรือนที่สามารถหายใจได้ อากาศไหลผ่านสะดวก แต่ในสมัยปัจจุบันหากพูดถึง Tropical Style แล้วมักเห็นภาพที่เกี่ยวเนื่องกับอาคารเขียวที่ใช้วัสดุธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และอยู่แวดล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว กลายเป็นภาพจำของอาคารประเภทนี้ไปแล้ว เป็นสไตล์ที่เรียกว่า Tropical Modernism ที่เริ่มต้นมาจากสถาปนิกระดับตำนานเชื้อสายศรีลังกา-อังกฤษ ชื่อว่า Geoffrey Bawa 

Geoffrey Bawa

GB

 

อดีตนักกฎหมายที่จบจากแคมบริดจ์ แต่ตกหลุมรักเข้ากับสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมจนผันตัวเองเข้าสู่เส้นทางดีไซน์และศึกษาต่อที่ AA(Architectural Association School of Architecture)

โดยเริ่มเขาอยากทำงานและใช้ชีวิตที่ยุโรปแต่ความยากลำบากในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินในยุคนั้น บวกกับการสูญเสียแม่ ทำให้บาวาต้องกลับศรีลังกาจนได้ที่ดินที่ Lunuganga, Bentota ที่เข้าเริ่มต้นเส้นทางการดีไซน์จนรู้ว่าตัวเองยังขาดความรู้ได้ด้านสถาปัตยกรรมจึงไปฝึกงานที่บริษัทสถาปัตยกรรมและเข้าเรียนที่ AA ในเวลาต่อมา

 

 

หลังจากที่บาวาจบการศึกษา ก็ได้กลับมาที่ศรีลังกาและสานต่อโปรเจคที่ได้เริ่มไว้ และได้รับโปรเจคอีกมากมายทั้ง Private Residence หรือแม้กระทั้งงานใหญ่อย่างรัฐสภา กลายเป็นเส้นทางที่ก่อร่างสไตล์ที่เป็นภาพจำของภูมิภาคเอเชียใต้อย่าง Tropical Modernism 

 

 

จุดที่ทำให้งานของบาวากลายมาเป็นมาสเตอร์พีซที่สถาปนิกหลายคนยังต้องนำงานเหล่านี้มาเป็น Inspiration เช่น การจัดวางสเปซเป็นแกน, การนำคอร์ทเข้ามาอยู่ตรงกลางบ้านเพิ่มจุดพักสายตาและสร้างความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวระหว่างอาคารกับสภาพแวดล้อม, การเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นงานฝีมือ แสดงถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่นั้น

 

Lunuganga, Bentota (1948–1998)

ไอเดียปรับบ้านแบบ Tropical Home

ดูผลงานบางส่วนจากสถาปนิกระดับตำนานไปแล้ว เมื่อผ่านยุคสมัยมาปัจจุบันการออกแบบมีการเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมและเทรนด์ที่เปลี่ยนไปรวมไปถึงเทคโนโลยีการอยู่อาศัยที่เข้ามาทำให้ Tropical Design มีดีไซน์ที่พัฒนาขึ้น

รวบรวมแบบบ้านพร้อมไอเดียการปรับบ้านของทุกคนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น ทั้งจากไทยและเอเชียใต้มาให้ชมกัน ตามมาดูได้เลยค่ะ ว่าจะมีวิธีไหนบ้าง

 

  1. คำนึงถึงทิศทางของแดด ประเทศไทยพระอาทิตจะขึ้นที่ตะวันออกอ้อมใต้เป็นระยะเวลา 8 เดือนเลยค่ะ ดังนั้นการจัดวางตำแหน่งห้องที่เราอยู่อาศัยในช่วงกลางวันจะมีผลอย่างมาก เช่น ห้องทำงานอยู่ในตำแหน่งตะวันตกห้องนั้นก็จะเป็นห้องที่ร้อนที่สุดในช่วงบ่ายเพราะพระอาทิตย์ตกในทางนั้น ดังนั้นหากใครที่ Work From Home ใช้เวลาทั้งวันตำแหน่งห้องทำงานฝั่งทิศเหนือจะเหมาะสมมากกว่า

 

 

  • การเพิ่มพื้นที่ร่มเงาให้กับตัวอาคาร ด้วยความที่บ้านโครงการสมัยใหม่มีพื้นที่จำกัดจึงทำให้หลังคาบ้านสมัยใหม่มีชายคาที่ไม่ได้กว้างมากนักรวมไปถึงดีไซน์หลังคาแบบ Flat Slab ที่ได้รับความนิยม ดังนั้นหากต้องการเพิ่มร่มเงาให้กับตัวบ้านอาจจะต้องต่อเติมหลังคาในบางจุด หรืออีกหนึ่งวิธีทีน่าสนใจคือการใช้ต้นไม้ที่มีความสูงเพื่อเพิ่มร่มเงาแต่การเลือกตำแหน่งต้นไม้ก็ต้องไม่บังทิศทางลมค่ะ

 

 

 

2. เพิ่มช่องทางให้ลมผ่านและระบายอากาศ (Ventilation) ต้นตอของความอบอ้าวก็คือการที่มีความร้อนสะสมในอาคารโดยไม่มีช่องทางระบายออกหรือระบายออกได้ไม่เพียงพอค่ะ นอกจากภายในบ้านควรมีช่องทางรับลมเข้าสู่บ้านแล้ว การระบายอากาศบนพื้นที่ที่รับแดดเต็ม ๆ อย่างหลังคาก็สำคัญเช่นกัน ดีไซน์หลังคาบ้านในปัจจุบันจะเป็นทรงที่ไม่สูงดังนั้นการใช้เทคโนโลยีพัดลมระบายอากาศเข้ามาช่วยให้พื้นที่ใต้หลังคาระบายอากาศได้ดีขึ้นก็จะทำให้ทั้งตัวหลังคาและพื้นที่อยู่ใต้หลังสามารถลดอุณหภูมิจากความร้อนสะสมได้ค่ะ

 

  • ปัจจุบันนอกจากความร้อนแล้วยังมีมลภาวะอย่าง PM 2.5 ทำให้บ้านไม่สามารถเปิดรับอากาศเพื่อให้ถ่ายเทความร้อนได้ ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีถ่ายเทอากาศพร้อมกรองฝุ่น PM 2.5 ไปในตัว ในท้องตลาดให้เลือกใช้งานกันค่ะ อาจจะไม่ได้เซฟเรื่องพลังงานนักแต่การป้องกันมลภาวะก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

 

3. การเลือกใช้วัสดุแต่งบ้าน ก็เป็นอีกหนึ่งคีย์ที่ทำให้เกิดสภาวะอยู่สบายขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุภายนอกสีอ่อนเพื่อลดการอุณหภูมิ ไปจนทั้งการเลือกใช้กระเบื้องหรือหินที่พื้นบ้านชั้น 1 เพราะมีอุณหภูมิที่เย็น การเลือกใช้ไม้มาเป็นส่วนหนึ่งของก็มีความน่าสนใจเพราะสามารถใช้ได้หลากหลาย แม้กระทั่งเฟอร์นิเจอร์อย่างเก้าอี้ไม้ที่ทุกบ้านของพ่อแม่ต้องมีเพราะสามารถระบายอากาศได้ดีทำความสะอาดง่าย

 

 

ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมก็ถือเป็นตัวอย่างการอยู่อาศัยที่สอดคล้องไปกับสภาพภูมิอากาศของบ้านเรา หากแต่ปัจจุบันมีปัจจัยทางมลภาวะที่เราพบเจอกันแทบทุกปี การมีบ้านแบบที่มีช่องเปิดเยอะเป็น Open Space อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองที่ต้องอยู่กับ PM2.5 ทุกปีนัก การหาทางแก้ไขด้วยเทคโนโลยีกันอาจจะตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองมากขึ้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ

 

 

 


อย่าลืมติดตามเพจ Yusabuy ไว้นะคะจะได้ไม่พลาดอัปเดตโครงการใหม่ ๆ 🙂

ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก

  • https://www.architecturaldigest.in
  • https://www.thedailybeast.com
  • https://www.behance.net
  • https://www.archdaily.com
  • https://www.pinterest.com
  • https://architizer.com
  • https://architropics.com
  • SCG
  • https://readthecloud.co/geoffrey-bawa-number11-lunuganga/
  • https://www.baanlaesuan.com/79160/design/design-update/people/geoffrey-bawa
  • https://wonderfularch.com/geoffrey-bawa-architecture/
  • https://dsignsomething.com/2019/03/07/what-is-tropical-architecture/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
icon-yusabuy-titleRELATED ARTICLE
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก