อุทยานจุฬาฯ 100 ปี สวนสาธารณะสำหรับชุมชนกับแนวคิด “ป่าในเมือง”

· ~ 1 min read

ทุกวันนี้เราแทบอาจจะไม่ได้เห็นโครงการใหม่ๆ ที่เป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองเลย จะมีก็แต่โครงการอาคารสูงที่ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นป่าคอนกรีต จะดีแค่ไหนที่จะมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นตรงใจกลางเมือง นอกเหนือจากเดิมที่มีๆ อยู่ วันนี้อยู่สบายจะพามาชมโครงการอุทยานจุฬาฯ 100 ปี เป็นสวนสาธารณะบนพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ อุทยานจุฬาฯ 100 ปีได้ฤกษ์เปิดเป็นวันแรกไปเมื่อวันอาทิตย์ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ภายในโครงการจะยังสร้างเสร็จไม่สมบูรณ์ 100% แต่ก็ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปใช้งานได้แล้วค่ะ 

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี
โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี ตั้งอยู่ติดกับ I’m Park คอมมูนิตี้มอลล์ข้างซอยจุฬา 22 ซึ่งเป็นบริเวณจุฬาฯ ฝั่งตะวันตก ตามแผนพัฒนาของจุฬาเองก็ตั้งใจจะทำพื้นที่ในโซนนี้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรม จะเห็นได้จากด้านข้างสวนที่ให้เอกชนพัฒนาเป็น I’m Park และ สวนหลวงสแควร์ ในอนาคตก็จะมีการก่อสร้างอาคารสูงที่เป็น Mixed use เพิ่มเติม ซึ่งสวนสาธารณะที่เกิดขึ้นใหม่นี้ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่พาณิชยกรรมโดยรอบนี้ นอกจากนี้ก็ยังเชื่อมต่อแนวแกนสีเขียวตามผังแม่บทมหาวิทยาลัยจากเขตการศึกษาขยายสู่ฝั่งตะวันตกที่เป็นที่ตั้งของสวนอีกด้วยค่ะ

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี ออกแบบโดยบริษัท LAND PROCESS และ N7A Architects มีพื้นที่ประกอบไปด้วย

  1. สวนสาธารณะ ขนาดประมาณ 28 ไร่ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน
  2. ถนนจุฬาฯ 100 ปี (ซอยจุฬาลงกรณ์ 5) เชื่อมถนนพระราม 1-พระราม 4  เขตทางกว้าง 30 เมตร ยาว 1.35 กิโลเมตร (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
  3. อาคารอเนกประสงค์  สำหรับจัดนิทรรศการและกิจกรรม พื้นที่ประมาณ 9,000 ตารางเมตร และอาคารจอดรถ 200 คัน

โครงการอุทยานจุฬาฯ 100 ปี  เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดเพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้  คืนประโยชน์สู่สังคมส่วนรวม แลกเปลี่ยนระหว่างนิสิตกับชุมชนและคนกับธรรมชาติ

ส่วนแนวคิดการออกแบบที่ว่างและรูปทรงนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากการเติบโตของกิ่งรากจามจุรีในการแผ่ขยายพื้นที่อย่างเรียบง่ายและยืดหยุ่นกับการใช้งาน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามบริบท ผสมผสานกับเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศของเมืองในระดับชุมชนด้วยโครงข่ายระบบถนนและพื้นที่สีเขียวขนาดต่างๆ ภายในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับการออกแบบถนนจุฬาฯ 100 ปี (ซอยจุฬาลงกรณ์ 5) ที่ต้องการจะให้เป็นต้นแบบถนนสีเขียว ร่มรืนด้วยต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่มหลากชนิดที่ทนต่อสภาพแวดล้อมเมือง  พร้อมทั้งออกแบบถนนที่ช่วยในการซึมน้ำ-หน่วงน้ำเมื่อฝนตก ซึ่งรูปแบบถนนที่ส่งเสริมให้รถขับช้า (Slow Traffic) เอื้อต่อการเดินเท้า ขี่จักรยาน และการใช้รถโดยสารขนส่งมวลชน (Mass Transit)   ส่วนอาคารอเนกประสงค์นั้น จะสะท้อน”การพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนรวม” ด้วยลักษณะอาคารที่สอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ภูมิทัศน์ สร้างสถาปัตยกรรมเปรียบเสมือนซุ้มประตู (Gate way) จากกระบวนทัศน์ทางธรรมชาติ ทำให้เป็น Landmark ให้กับอุทยานจุฬาฯ 100 ปี และมหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตก

ด้วยความที่เป็นสวนสาธารณะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สถานศึกษา นอกจากจะทำเป็นพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังมีโจทย์เพิ่มเติมในการทำให้ส่วนเป็นแหล่งวิชาการเพื่อแหล่งเรียนรู้ และนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ภายในสวน จะเห็นว่าพื้นที่โดยรวมของสวนจะลาดเอียงขึ้นไปนั้นก็เพื่อให้น้ำฝนไหลมารวมกันที่สระรับน้ำ (Retention Pond) ด้านหน้าสุด เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ รวมถึงไหลลงด้านข้างที่มีส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wet Land) เพื่อรองรับน้ำให้กับเมือง และช่วยในการบำบัดน้ำเสีย 

บริเวณ Retention Pond จะมีลูกเล่นให้คนที่เข้ามาใช้สวนได้ปั่นจักรยานปั่นเพื่อเติมออกซิเจนให้กับน้ำ

อย่างที่บอกไปว่าอุทยานแห่งนี้ตั้งใจจะเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อไว้สำหรับนิสิตจุฬาฯ และบุคคลทั่วไป ภายในพื้นที่ประมาณ 30 ไร่นั้นก็เลยมีไว้รองรับคนใช้งานตั้งแต่กลุ่มเล็กๆ ไม่เกิน 50 คน ก็จะมีห้องเรียนกลางแจ้งกระจายอยู่ด้านข้าง ส่วนกลุ่มคนขนาดกลางหลักพันต้นๆ ก็มีส่วนของพื้นที่สนามหญ้าตรงกลางและ Outdoor Amphitheatre ไว้ให้ค่ะ ส่วนถ้าจะรองรับกลุ่มคนที่มากขึ้นสวนแห่งนี้ก็สามารถรองรับคนได้ถึงเกือบหมื่นคนเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งนอกจากพื้นที่สวนตรงกลางแล้ว ก็ยังมีพื้นที่สวนด้านข้างที่กำลังก่อสร้างอยู่รวมอยู่ด้วย

หน้าตาของพื้นที่ห้องเรียนกลางแจ้งทั้ง 8 แห่ง ภายในพื้นที่สวนด้านข้างทั้ง 2 ฝั่ง

โดยแต่ละห้องจะมี Concept ที่ต่างกันไป อย่างเช่น Earth Room ก็จะมีดินจากแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศให้ได้ศึกษา, Herb Room เป็นส่วนของสวนสมุนไพร และ Sand Room ที่กลายเป็นลานทรายให้เด็กๆ ได้มาเล่นกัน สำหรับต้นไม้ในแต่ละห้องเรียนกลางแจ้งก็จะเลือกเป็นไม้ประจำถิ่นในประเทศไทยแต่ละห้องก็จะมีพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกัน

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

ส่วนพืชพรรณอื่นๆ ภายในสวน ก็จะใช้เป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่น อย่างไม้ตะเคียน ไม้มะค่า ไม้เต็ง เป็นต้น โดยเลือกเลือกเพาะพันธุ์จากกล้า และต้นขนาดไม่ใหญ่ เพื่อให้เติบโตไปพร้อมๆ กับพื้นที่สวนนี้ค่ะ ส่วนต้นไม้ขาดไม่ได้เลยของสวนนี้นั้นก็คือต้นจามจุรี ต้นไม้สัญลักษณ์ของจุฬาฯ ซึ่งต้นจามจุรีภายในโครงการจะมีต้นที่สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานให้ 6 ต้น อยู่ด้านหน้าหน้าโครงการ และ 9 ต้นหน้าอาคารอเนกประสงค์

นอกจากนี้ก็ยังมีอาคารอเนกประสงค์ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้เนินหญ้าด้านบนสุดที่เป็น Green Roof ซึ่งตัวพืชพรรณบนหลังคานั้นจะใช้เป็นวัชพืชทั่วไป ง่ายต่อการดูแลรักษาค่ะ

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

ส่วนด้านในอาคารจะเป็นพื้นที่ไว้สำหรับจัดนิทรรศการและเป็นอาคารจอดรถ 200 คัน

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

วันที่เราเข้าไปเดินชมสวน (28/03/60) พื้นที่สวนเกือบ 30 ไร่นี้ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่เราก็ได้เห็นนิสิต และประชาชนทั่วไปที่มีทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่ มาเดินเล่น นั่งเล่น ออกกำลังกายทั้งวิ่ง ปั่นจักรยานกันอย่างคึกคักเลยค่ะ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งนั้นก็ยังเป็นที่ต้องการของคนเมืองอยู่ ถ้าในเมืองมีพื้นที่สีเขียวดีๆ ให้ได้ใช้กันก็น่าจะเป็นช่วยเสริมสร้างสุขภาพใจและกายที่ดีให้กับชาวกรุงเทพฯ ได้ไม่น้อย

เราเก็บภาพบรรยากาศภายในอุทยานจุฬาฯ 100 ปีมาฝากกัน

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬา 100 ปี

อุทยานจุฬาฯ 100 ปี ตอนนี้จะไม่สมบูรณ์ 100% นะคะ แต่ก็เปิดให้เข้าไปใช้งานได้แล้วบางส่วน ใครที่เบื่อเดินห้าง แล้วต้องการพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในเมืองใหม่ๆ หรือจะมาวิ่งออกกำลังกายก็สามารถเดินทางมาได้เลยค่ะ โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ ติดกับ I’m Park เลยค่ะ ^^

พิกัด GPS >>> 13.739407, 100.523799

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก