- ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center – RISC) เตรียมเปิดตัวกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ค้นคว้าวิจัยเพื่อความสุขและความยั่งยืนแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน มีมูลค่าการลงทุนกว่า 200 ล้านบาทโดย MQDC บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับสากล
- ศูนย์ RISC คิดค้นเทคโนโลยี แนวทางการออกแบบ พร้อมเครื่องมือตรวจวัดต่าง ๆ ขึ้นเพื่อรองรับแนวโน้มการพัฒนาและใช้ชีวิตในอนาคต เน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน พร้อมเปิดให้ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการ
- ศูนย์ RISC นำทีมโดย รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์นักออกแบบชื่อดังจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บุกเบิกกรีนดีไซน์ด้วยการนำเศษวัสดุมาใช้ในการออกแบบและก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม
บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับสากล เตรียมเปิดตัวศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย บนพื้นที่ราว 1,000 ตรม. มีมูลค่าการลงทุนเริ่มต้นกว่า 200 ล้านบาท โดยเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ กลางเดือนพฤศจิกายน 2560 นี้ ตั้งเป้าเพื่อยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ ให้เน้นการพัฒนาโครงการให้เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน
“การเปิดตัวศูนย์ RISC นี้จะเป็นจุดสำคัญของวิวัฒนาการใหม่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย เรามีความตั้งใจที่จะทำให้ RISC เป็นศูนย์กลางการคิดค้นนวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งผลงานวิจัยที่ออกมาจะไม่ใช่เพียงเพื่อนำมาใช้เฉพาะกับโครงการต่าง ๆ ของแมกโนเลียเท่านั้น แต่เรายังเปิดกว้างเพื่อให้บุคคลภายนอกได้มีโอกาสนำงานวิจัยของเราไปใช้ในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย ใช้ในการพัฒนาโครงการหรือเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเราที่ต้องการยกระดับคุณภาพของวงการอสังหาริมทรัพย์และการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยรวมให้ดีขึ้น” รศ. ดร.สิงห์ กล่าวย้ำอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายของการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว
รศ. ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์ริสค์ หรือที่เรียกว่า RISC กล่าวว่า หลังจากที่บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และจะพร้อมเปิดพื้นที่วิจัยนี้ให้กับทุกคน ทุกองค์กร ที่สนใจด้านการพัฒนาและก่อสร้างอย่างยั่งยืน
“RISC จะทำการวิจัยภายใต้หลักการ “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” เราจะพยายามค้นคว้าวิจัยให้บรรลุเป้าหมายทางความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ”
รศ. ดร.สิงห์ กล่าวว่า “บริษัทได้ทุ่มทุนกว่า 200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการรองรับกิจกรรมวิจัยและสร้างนวัตกรรมใหม่แบบครบวงจร โดยเฉพาะส่วนของห้องแล็บและศูนย์ทดสอบได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัยไว้พร้อมรองรับการใช้งานให้ทีมงานนักวิจัยได้สามารถทำการศึกษา ค้นคว้าและทดสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในพื้นที่ 1,000 ตรม ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ประกอบไปด้วย ห้องทดสอบการใช้งานของงานระบบต่างๆ อาทิ เช่น ห้องทดสอบประสิทธิภาพของงานระบบปรับอุณหภูมิใต้แผ่นปูพื้นหรือ radiant flooring ซึ่งระบบนี้จะทำหน้าที่ช่วยปรับอุณหภูมิภายในห้องให้เหมาะสมและลดการใช้พลังงาน ห้องทดสอบสภาวะอากาศ ห้องทดสอบระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับสารระเหยจากวัสดุตกแต่งในอาคาร”
ศูนย์ RISC จะเป็นเสมือนห้องค้นคว้าของประชาชนด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน เป็นที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยศูนย์ RISC ได้รวบรวมวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับงานก่อสร้าง จำนวนกว่า 300 ชิ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบและก่อสร้าง พร้อมทั้งเป็นแหล่งรวมงานดีไซน์ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ RISC ยังจัดสรรพื้นที่ทดสอบพืชพรรณต่างๆ ที่สามารถปลูกภายในอาคารที่ช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคารได้ พื้นที่ Laboratory ที่มีเครื่องมือทันสมัยสำหรับสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งมีพื้นที่ Simulation Lab ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์และการออกแบบด้านการประหยัดพลังงาน การใช้แสงสว่าง เป็นต้น
ภายในศูนย์ RISC ยังประกอบไปด้วย ห้องทดสอบผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีต่อวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่งต่างๆ มีห้องทดสอบระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนและแสง ตลอดจนแล็ปทดสอบการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ผลทดสอบจากแล็บจะช่วยให้ทางบริษัทสามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดและคงทน ปลอดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ตลอดจนยังช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานให้กับผู้อยู่อาศัยด้วย
ศูนย์ RISC วางเป้าหมายในการสร้างผลงานนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับมาตรฐานการสร้างที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่อาศัยในโครงการ รวมถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในและรายล้อมโครงการ
“การเปิดตัวศูนย์ RISC นี้จะเป็นจุดสำคัญของวิวัฒนาการใหม่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย เรามีความตั้งใจที่จะทำให้ RISC เป็นศูนย์กลางการคิดค้นนวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งผลงานวิจัยที่ออกมาจะไม่ใช่เพียงเพื่อนำมาใช้เฉพาะกับโครงการต่าง ๆ ของแมกโนเลียเท่านั้น แต่เรายังเปิดกว้างเพื่อให้บุคคลภายนอกได้มีโอกาสนำงานวิจัยของเราไปใช้ในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย ใช้ในการพัฒนาโครงการหรือเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเราที่ต้องการยกระดับคุณภาพของวงการอสังหาริมทรัพย์และการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยรวมให้ดีขึ้น” คุณวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC กล่าวย้ำอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายของการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว
รศ. ดร.สิงห์ กล่าวอีกว่าทางศูนย์ RISC ตั้งเป้าขยายเครือข่ายทีมนักวิจัยระดับชั้นนำกว่า 100 คนในอีก5 ปีข้างหน้า สำหรับตัวศูนย์ฯ เองก็ได้มีการก่อสร้างและตกแต่งด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทุกชิ้น โดยที่นี่ถือเป็นสำนักงานแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย the WELL Building Standard from the International WELL Building Institute (IWBI) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกในการรับรองอาคารที่ส่งเสริมสุขภาวะ โดย IWBI พิจารณาให้ใบรับรองการออกแบบและก่อสร้างที่พิถีพิถัน ทั้งทางด้านคุณภาพอากาศ แสงสว่าง น้ำ พื้นที่พักผ่อนและออกกำลังกาย รวมทั้งวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น เราได้นำเอาวัสดุที่ทำจากเปลือกไข่อัพไซเคิลมาเป็นวัสดุพื้นผิวโต๊ะและเคาน์เตอร์, วอลเปเปอร์ฟอกอากาศ และสีทาภายในอาคารปลอดสารระเหย รวมถึงวัสดุตกแต่งทุกชนิดปลอดจากสารระเหยฟอร์มัลดีไฮด์ เป็นต้น
โครงการของ MQDC ถือเป็นผู้บุกเบิกวงการอสังหาฯ เป็นรายแรกที่นำเทคโนโลยีล้ำหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตและการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย อาทิเช่น โครงการ Whizdom รัชดา-ท่าพระ เป็นโครงการอาคารห้องชุดพักอาศัยแห่งแรกที่นำเทคโนโลยี Co2 sensors ผนวกกับ Energy Recovery Ventilation (ERV) ซึ่งเป็นระบบถ่ายเทอากาศภายในอาคาร โดยมีระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับอากาศเป็นตัวช่วยสั่งการให้มีการถ่ายอากาศเสียออกและเติมออกซิเจนเข้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยปรับคุณภาพอากาศภายในอาคาร หรือ indoor air quality ให้ดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย
นอกจากนี้โครงการ วิสซ์ดอม 101 (Whizdom 101) ก็จะเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ถูกออกแบบให้เป็นโครงการเมืองอัจฉริยะแบบบูรณาการหรือ Smart City remote asset management โดยโครงการนี้จะติดตั้งเทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะร่วมกับระบบเชื่อมต่อครบวงจร ร่วมกันคิดค้นแอพพลิเคชั่นขึ้นใหม่เพื่อให้สั่งการทำงานได้จากรีโมทคอนโทรล เพื่อตอบโจทย์เรื่องการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ ได้แก่ การประหยัดพลังงาน ลดปัญหาจราจร ลดมลพิษทั้งภายนอกและภายในโครงการ ตลอดจนช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบสาธารณูปโภคและวัสดุต่างๆ ภายในอาคาร MQDC มีความมุ่งมั่นที่จะฉีกกฏการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบเดิมๆ มาเป็นโครงการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรมหรือ Sustainnovation โดยมุ่งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ นำมาผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบัน อาทิ โฮมออโตเมชั่น การใช้พลังงานบริสุทธิ์ การจัดการทางด้านการเงินให้ผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงข้อมูลการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ นำมาใช้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกโครงการบรรลุเป้าหมายการสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน