รัฐออก 3 มาตราการกระตุ้นอสังหาฯ : สนับสนุนทางการเงิน, ลดค่าธรรมเนียมโอน, ยกเว้นภาษีเงินได้

· ~ 1 min read

หลังจากช่วงที่ผ่านมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์สำหรับระดับกลางและระดับล่างได้ชลอตัวลงพอสมควร  วันนี้ (13 ตุลาคม 2558) คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเห็นชอบกับมาตราการกระตุุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เสนอโดยกระทรวงการคลัง  โดยมีมาตราการ 3 ข้อหลักๆ คือ

1. มาตราการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง  ที่มีรายได้สุทธิไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน  ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ผ่านทางการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยในเบื้องต้นมีวงเงิน 10,000 ล้าน และทางธนาคารอาคารสงเคราห์สามารถขยายเพิ่มวงเงินได้ตามความเหมาะสม  โดยมีกำหนดระยะเวลายื่นคำขอและดำเนินการนาน 1 ปี  เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558  ทั้งนี้กรอบระยะเวลาในการกู้เงินจะต้องไม่เกิน 30 ปี

2. มาตราการการลดค่าธรรมเนียมโอน  อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันนั้นค่าธรรมเนียมโอนในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะอยู่ที่ 2% จะลดเหลือ 0.01%  และลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองจากปัจจุบัน 1% เหลือ 0.01% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน  โดยไม่จำกัดราคาของบ้านและคอนโดที่ซื้อขาย

3. มาตราการการ ลด/ยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  สำหรับการซื้อห้องชุดหรืออาคารพร้อมที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท  ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตัวเองและใช้ชื่อตัวเองเป็นเจ้าของ  โดยต้องถือกรรมสิทธิ์ติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปี  และต้องไม่เคยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นมาก่อน  ซึ่งจะได้ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวน 20% ของมูลค่าอสังหาฯ  ในรอบระยะเวลา 5 ปี  โดยให้แบ่งใช้สิทธิจำนวนเฉลี่ยเท่ากันทุกปีในแต่ละปีภาษี  โดยจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนและโอนกรรมสิทธิ์นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ จนถึงสิ้นปีหน้า (31 ธันวาคม 2559)

โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี  ยอมรับว่ามาตราการดังกล่าว โดยเฉพาะมาตราการลดค่าธรรมเนียมโอนจาก 0.2% เป็น 0.01% และลดค่าจดจำนองจาก 1% เป็น 0.01% จะทำให้การจัดเก็บภาษีของภาครัฐมีรายได้ลดลงประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี  แต่เชื่อว่าในอนาคตจะทำให้รายได้จากภาษีกลับเข้ามามากกว่าที่เสียไปเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น

นอกจากนี้แล้วคณะรัฐมนตรียังมีมติเห็นชอบกับมาตราการภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการ Venture Capital รวมถึงอนุมัติร่างหลักการพระราชกฤษฎีกา  กำหนดสิทธิประโยชน์การลดภาษีนิติบุคคลและยกเว้นภาษีสำหรับเงินปันผลที่ได้รับจากกิจการ Venture Capital เป็นระยะเวลา 10 ปี  โดยจะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย  ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  โดยกิจการเป้าหมายตามประเภทอุตสาหกรรมที่ สวทช. กำหนดคือ

  • อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร
  • อุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด
  • อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
  • อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  • อุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • อุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับ
  • อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์
  • อุตสาหกรรมฐานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (2)
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก