เปิดหน้าประวัติศาสตร์ “สยามสแควร์” กับการบุกเบิกเทคนิคการก่อสร้างระบบสำเร็จรูปอย่างมีประสิทธิภาพ

· ~ 1 min read

เมื่อพูดถึง สยามสแควร์  Siam Square ) คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักเป็นสถานที่รวมพลของหนุ่มสาวตั้งแต่สมัยวัยเก๋ารุ่นพ่อรุ่นแม่ จนถึงปัจจุบันตอนนี้ก็ยังเป็นสถานที่ที่วัยรุ่นเด็กสยามมาใช้ชีวิตผ่านการแชร์ Life Style ในมุมต่างๆ  จนกลายเป็นสถานที่สำคัญในช่วงเวลาหนึ่งของผู้คนมากมายครับ  เราจะเห็นร้านค้าหน้าเก่า หน้าใหม่  ปะปนหมุนเวียนเปลี่ยนมือกันกันเข้ามาตามยุคสมัยมากมายนับไม่ถ้วน  ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา

ว่าแต่เพื่อนๆ เคยรู้กันไหมครับว่า สยามสแควร์ นั้นมีที่มาอย่างไร

Siam Square Seacon(ภาพที่1)

 

ก่อนที่จะเล่าให้ฟังต่อไปขอเกริ่นนิดนึง  Siam Square ในปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเนื้อที่ 63 ไร่  ซึ่งตั้งแต่สมัยอดีตนู้น… พื้นที่สยามสแควร์ตรงนี้เคยเป็นสวนผักและเป็นชุมชนแออัด  ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้น  ทำให้ทางทรัพย์สินจุฬาฯ เข้ามาปรับปรุงพื้นที่ชุมชนแออัดเดิมให้กลายเป็นแหล่งค้าขายแนวราบเพื่อป้องกันการบุกรุกกลับมาของชุมชนแอดอัดเดิม

ซึ่งเมื่อมีความคิดนี้ริเริ่มขึ้นมา ในสมัยนั้นวงการอสังหาริมทรัพย์นั้นก็ยังไม่ได้ตื่นตัวกันมากเท่าเหมือนในตอนนี้  การจะหาคนมาพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์นี้เลยไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ก่อนที่ต่อมาทางทรัพย์สินจุฬาฯ จะได้บริษัท บริษัท เซ้าท์อีสท์เอเชีย คอนสตักชั่น จำกัด  (SOUTHEAST ASIA CONSTRUCTION)  มาทำโครงการสยามสแควร์  โดยที่สมัยนั้นศูนย์การค้าที่มีแนวคิดคล้ายกันแบบนี้ก็เริ่มมีให้เห็นกัน  ตอนนั้นถ้าจะไปซื้อของ ซื้อเสื้อผ้า  หาหนังสือดีๆ ก็ต้องไปย่านวังบูรพา ห้างไนติ้งเกล สารพัดร้านตึกแถว  ด้วยความเสี่ยงต่างๆ ที่มี  ทำให้ผู้ลงทุนอื่นที่จะมาร่วมทุนพัฒนาพื้นที่ตรงสยามสแควร์ด้วยก็บ๊ายบายหายกันไป

 

Siam Square Seacon(ภาพที่11)

Siam Square Seacon(ภาพที่16)

 

สุดท้ายแล้วทางจุฬาฯ ก็เหลือแค่บริษัท เซ้าท์อีสท์เอเชีย คอนสตักชั่น เจ้าเดียวที่ได้งานชิ้นนี้ไป  โดยที่ผู้บริหารก็คือ คุณกอบชัย ซอโสตถิกุล  ซึ่งโตมาในทางสายวิศวกรรมอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็และขอแรงจากบริษัทออกแบบของฝรั่งเศสมาเป็นผู้ทำการออกแบบและวางผังให้  ซึ่งตอนนั้นโจทย์ที่ได้มาเป็นงานหินมาก  เพราะต้องสร้างร้านค้า 550 ยูนิต ในระยะเวลาจำกัดในตอนนั้น

ทาง คุณกอบชัย ซอโสตถิกุล จึงได้ใช้ระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป Prefab (Prefabricated) ที่ตัวเองมีประสบการณ์มาพอสมควรก่อนหน้านี้ มาใช้ในการก่อสร้างที่ละจำนวนมากด้วย  ซึ่งตอนหลังระบบนี้ก็เรียกชื่อกันคุ้นหูตามชื่อย่อของบริษัท  SouthEast Asia Construction ว่าระบบ SEACON ครับ

สยามสแควร์ จึงถึงเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกๆ  ที่ใช้ระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปมาใช้งานนี่แหละครับ

Siam Square Seacon(ภาพที่8)

Siam Square Seacon(ภาพที่17)

Siam Square Seacon(ภาพที่18)

 

หลังจากโครงการพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์กว่า 550 ยูนิต นี้สำเร็จในปี พ.ศ. 2507  เริ่มแรกนั้นให้ชื่อว่า “ปทุมวันสแควร์”  ก่อนที่ต่อมาจะเปลี่ยนชื่อเป็น “สยามสแควร์” ตามชื่อของโรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัลในสมัยนั้น (ปัจจุบันที่ดินของสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล เป็นสยามพารากอนนั่นเองครับ)  

 

Siam Square Seacon(ภาพที่10)

Siam Square Seacon(ภาพที่15)

 

เรื่องราวของสยามสแควร์ก็มีอีกเยอะแยะหลากหลายประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาพูดได้เลยแหละครับ  อย่างน้อยส่วนหนึ่งที่เล่าวันนี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วบ้างว่าสยามสแควร์นั้นมีที่มาที่ไปยังไง

ตอนนี้ส่วนต่างๆ ของสยามสแควร์เองก็มีการปรับปรุงต่อเติมมาตามยุคสมัย  หน้าตาสภาพอาคารก็เปลี่ยนแนวไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา  แต่บทบาทและหน้าที่ที่แสดงออกมาบนพื้นที่ของสยามสแควร์ ยังคงเป็นสถานที่ (Place) สำหรับวัยรุ่นเสมอมา  ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย  และก็น่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก