โกลเด้นแลนด์ ทำโครงการ GOLD GIVING : CLASSROOM MAKEOVER พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้โรงเรียนต้นแบบเพื่อผู้พิการทางสายตา

· 2 min read

CLASSROOM MAKEOVER เป็นโครงการที่โกลเด้นแลนด์ตั้งใจทำขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากเหล่าพันธมิตร เข้าไปพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้สำหรับกลุ่มผู้พิการทางสายตา เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กอย่างเต็มที่ และถือเป็นห้องเรียนตัวอย่าง เพื่อให้โรงเรียนผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศสามารถนำหลักสูตรนี้ไปปรับใช้ได้ สำหรับโรงเรียนต้นแบบที่โกลเด้นแลนด์เลือกพัฒนาคือ โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่พัทยา จ.ชลบุรี

สำหรับโครงการนี้ทางผู้บริหารของบริษัทฯ เล็งเห็นว่า The Best ของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกัน ครั้งนี้จึง มอบโอกาสให้แก่ “ผู้พิการทางสายตา” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังขาดโอกาส เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาสู่ The Best ของเขาได้ และเป็นการกระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของคนเหล่านี้อีกทางหนึ่ง

โครงการนี้ขึ้น โกลเด้นแลนด์ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบเพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของน้องๆ ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพให้ดีที่สุดซึ่งการพัฒนาห้องเรียนครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่การไปทาสี หรือเอาของเล่น เอาหนังสือไปใส่ แต่เป็นการคิดแบบครอบคลุมครบ 360 องศา ทุกตารางนิ้วของห้องเรียนถูกออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทุกด้านของเด็กให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ซึ่งประเภทของผู้พิการทางสายตา (Type of Blindness) แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกตาบอดสนิท (Blindness) ผู้ที่มองเห็นได้น้อยมาก หรือไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ได้ ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นแทนในการเรียนรู้ หรือทำกิจกรรม ส่วนประเภทที่สอง ตาบอดเลือนราง (Low Vision) ผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นไม่รุนแรง ยังสามารถมองเห็นอักษรพิมพ์ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประสาทตาจะเสื่อมลงเรื่อยๆ และบอดสนิทในที่สุด หากไม่ได้รับการกระตุ้นการใช้สายตาอย่างถูกวิธี

 

จากปัญหาเหล่านี้ของเด็กผู้พิการทางสายตา โกลเด้นแลนด์จึงได้มีการจัดทำพื้นที่การเรียนรู้ที่สามารถใช้สอนวิชาในการพัฒนาด้านต่างๆ ประกอบไปด้วย วิชาสัมผัส, วิชาแสง, วิชาลมหายใจ และวิชาเดซิเบรลล์ เพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการเบื้องต้นของเด็กกลุ่มนี้อย่างบูรณาการ เพราะหากเด็กเหล่านี้ได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาไวยิ่งขึ้น

วิชา สัมผัส

คุณแบงค์ – เอกฉันท์ เอี่ยมอนันต์วัฒนะ ผู้อำนวยการ บริษัท ครีเอทีฟครูส์ จำกัด สถาปนิกผู้ออกแบบ กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “ได้ออกแบบห้องที่มีผนัง 6 ด้าน ผสานกับหลักสูตรพรีเบรลล์ (Pre-Braille) ทำให้ทั้งห้องสามารถใช้เรียนรู้ได้รอบด้าน เริ่มโดยไม่มีโต๊ะ ไม่มีเก้าอี้ แล้วก็มีผนังให้เด็กไปเกาะกับผนัง เล่นกับผนัง ตัวหมุดก็จะมีหลักสูตรต่างกัน มีอยู่ 6 แบบตามผนัง 6 ด้าน ตัวหมุดด้านแรก จะเริ่มที่ระเบียงก่อน ตัวหมุดจะมีขนาดเท่าๆกัน แล้วก็เป็นรูปทรงมาตรฐาน ทรงกลม ทรงเหลี่ยม สามเหลี่ยม ผนังที่สอง ก็เป็นเรื่องขนาดเริ่มต่างกัน แล้วก็มีตัวเลขให้นับ ผนังต่อไป ก็จะเป็นตัวหมุดมีเสียงอยู่ข้างใน เพราะว่าพอเราเริ่มจากสัมผัสแล้ว เราก็ต้องพัฒนาสัมผัสอื่นๆ ที่เด็กมีนอกจากการมองเห็น แล้วเสียงที่เราใช้ในหมุดก็จะเป็นของในชีวิตประจำวัน เช่น เกลือ พริกไทย อันนี้ประหลาดใจมาก ที่เด็กสามารถเขย่าพริกไทย เขย่าเกลือ แล้วแยกแยะได้ว่ามันไม่เหมือนกัน”

Clip VDO วิชาสัมผัส

วิชาแสง

อาจารย์อ้อ – ผศ.ดร. วรรณภา พิมพ์วิริยะกุล ไลท์ติ้ง ดีไซเนอร์ กล่าว “สำหรับเด็กสายตาเลือนราง เราเอาแสงมาเป็นเครื่องมือในการช่วยสอนเด็กที่มีการมองเห็นเลือนรางได้ เช่น สามารถเอาสีของแสงมาจับต้องกับวัตถุเพื่อให้เห็นรูปทรงที่แตกต่างออกไป แต่ในอีกแง่หนึ่ง แสงนับว่ามีศักยภาพเยอะในเรื่องของการช่วยกระตุ้นการใช้ดวงตา ซึ่งเราได้เอาความรู้เรื่องทฤษฎีแสงและสี มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อสาธิตให้เด็กสายตาเลือนรางจะได้เรียนรู้เรื่องสี เรื่องแสงและรูปทรงไปพร้อมๆ กัน เพื่อเด็กผู้พิการทางสายตาให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมปกติ”

Clip VDO วิชาแสง

วิชาลมหายใจ

คุณก้อย – ชลิดา คุณาลัย  Scent Designer (นักออกแบบกลิ่น) กล่าวว่า “คนเราทุกคนจะมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถ้าประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหายไป อีก 4 สัมผัสที่เหลือ จะต้องทำงานให้ดีขึ้น หากน้องๆ มองไม่เห็น เรื่องกลิ่นถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการดำรงชีวิตของน้องๆ  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบกลิ่นให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อเป็นการเตือนอันตรายให้กับน้อง และสามารถนำการสูดดมกลิ่นต่างๆ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย”

Clip VDO วิชาลมหายใจ

วิชาเดซิเบรลล์

คุณอู่ – ไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด  กล่าวว่า “การเรียนรู้ในการได้ยิน เสมือนเรามอง-เห็นสถานที่นั้นจริงๆ ธรรมชาติของการได้ยินเสียงของมนุษย์ หูซ้ายและขวาเรามีการประมวลผลที่ต่างกัน ไกลแค่ไหน ระยะทางแค่ไหน มาจากทางซ้ายหรือขวา ซึ่งระบบที่เราเลือกบันทึกเสียง เป็นระบบ Binaural recording จำลองความได้ยินของมนุษย์ผ่านความห่างของกระโหลก โดยจะมีหูซ้าย หูขวา มีใบหู แล้วก็ใส่ไมโครโฟนไว้สองข้าง  โดยพยายามที่จะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้ ฝึกฝนการใช้ประสาทการได้ยิน เป็นส่วนช่วยในการใช้ชีวิต ผมว่าเสียงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต ทำให้น้องๆ ได้ทำอะไรมากขึ้น มีจินตนาการได้กว้างไกลมากขึ้น”

Clip VDO วิชาเดซิเบรลล์

สามารถติดต่อขอรับคู่มือสำหรับการออกแบบห้องเรียน 
เพื่อพัฒนาน้องๆ ผู้พิการทางสายตา 
ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ 02-764-6244

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
icon-yusabuy-titleRELATED ARTICLE
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก