สวัสดีค่ะ วันนี้อยู่สบายพามาเที่ยวต่างจังหวัดกัน เรามาพาชมทำเลเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจด้านฝั่งตะวันออกนั้นก็คือ ศรีราชา-แหลมฉบังค่ะ บริเวณนี้ก็มีทั้งท่าเรือขนส่งสินค้า รวมไปถึงแหล่งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งช่วงนี้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จากกรุงเทพฯ ก็เริ่มจะหันมาให้ความสนใจกับพื้นที่บริเวณนี้กันมากขึ้นค่ะ เราจะพาไปชมบรรยากาศโดยรอบ พร้อมทั้งอัพเดทโครงการที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่นี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยค่ะ
ทำความรู้จักกับ ศรีราชา – แหลมฉบัง เขตเศรษฐกิจศักยภาพสูงในอนาคต และโครงการใหม่ Origin District Sriracha ตรงข้าม ม.เกษตรฯ ศรีราชา
· 19 min readถ้าขับรถโดยใช้เส้นสุขุมวิทมาจากกรุงเทพฯ จะไปทางพัทยา หลังจากออกจากตัวเมืองชลบุรีแล้ว เราจะต้องผ่านเข้าตัวเมืองศรีราชาก่อน จากนั้นก็จะผ่านแหลมฉบัง ซึ่งระหว่างหัวเมืองอย่างศรีราชาและแหลมฉบังก็จะมีเน้นเขาเล็กๆกั้นอยู่ โดยที่มีถนนสุขุมวิทตัดผ่านเป็นทางเชื่อมต่อกันไปจนถึงเมืองพัทยาเลยค่ะ ถ้าหากใครอยากจะอ้อมไปทางพัทยาเลย ก็สามารถใช่้เส้นมอเตอร์เวย์ได้ ซึ่งจากมอเตอร์เวย์ก็จะมีทางเชื่อมกับสุขุมวิทเป็นระยะๆ ตามหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นชุมชน ทั้งชลบุรี, ศรีราชา, แหลมฉบัง และไปจบที่เมืองพัทยาค่ะ … โดยลักษณะของตัวเมืองศรีราชาและตัวเมืองแหลมฉบังนั้นหลายๆ อย่างค่อนข้างแตกต่างกันอยู่เห็นได้ชัดเจน โดยเราจะพาไปทำความรู้จักกันทีละส่วนค่ะ
.
.
.
ศรีราชา
ตัวอำเภอศรีราชานั้นอยู่ระหว่างอำเภอเมืองชลบุรีกับเทศบาลเมืองแหลมฉบัง พื้นที่ตัวเมืองคือบริเวณแถวแยกอัสสัมชัญ ในบริเวณตัวเมืองศรีราชาจะมีถนนอีก 2 สาย ที่เชื่อมแยกออกมาจากถนนสุขุมวิท คือ ถนนอัสสัมชัญ ที่จะไปแยกเป็นถนนศรีราชา-หนองยายบู่ อีกครั้ง และถนนเก้ากิโล พื้นที่บริเวณใจกลางเมืองนั้นจะอยู่กันค่อนข้างหนาแน่นและรถติดมากทีเดียว ปัจจุบันศรีราชามีท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือหลักของประเทศแทนท่าเรือกรุงเทพฯ และป็นท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากที่สุดอันดับที่ 22 ของโลก และนิคมอุตสาหกรรม ถ้าลงมาตามถนนสุขุมวิทจะเจอกับนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นอกจากนี้ในบริเวณใกล้ๆก็ยังมีนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1, 2 และ 3 นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี และ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
แหล่งความเจริญและความอุดมสมบูรณ์หลักๆ ของศรีราชาจะอยู่ตรงใกล้แยกอัสสัมชัญ มีศูนย์การค้า Pacific Park Srircha Nakorn (หมายเลข 1) เป็นศูนย์การค้าหลักและใหญ่ที่สุดในตัวเมือง ด้านในมีโรบินสัน ศรีราชา ด้านหลังของ Pacific Park จะเป็นโซนที่เรียกว่า ศรีราชานคร หรือคนในพื้นที่เขาจะเรียกกันว่า ชาญนคร บรรยากาศจะเหมือนสุขุมวิทที่มีคนญี่ปุ่นอยู่เยอะ เพราะมีร้านที่รองรับคนญี่ปุ่นเยอะมาก นอกจากนั้นก็ยังมีโรงแรมและเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ กระจายอยู่รอบ และรวมถึงโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา (หมายเลข 2) และพื้นที่ที่ติดทะเลเป็นสวนสาธารณะชื่อสวนเกาะลอย (หมายเลข 3) ซึ่งอยู่ใกล้ๆเกาะลอย ศรีราชา และมีท่าเทียบเรือที่จะข้ามไปเกาะสีชังด้วย
เข้ามาถนอัสสัมชัญจะมีโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา (หมาบเลข 4) ตรงไปจนสุดทางก็จะไปตัดกับมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ – ชลบุรี และคอมมูนิตี้มอลล์ ชื่อ J-Park ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่นเลยค่ะ นอกจากนี้ก็มีโรงเรียนสมาคมไทย – ญี่ปุ่น ศรีราชา ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อลูกหลานคนญี่ปุ่นที่มาทำงานที่ศรีราชาเท่านั้น ส่วนถนนเก้ากิโล จะมีโรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ (หมายเลข 5) ซึ่งตามแนวถนนเก้ากิโลนี้ก็จะมีโครงการบ้านจัดสรรแนวราบอยู่มากทีเดียว บนถนนสุขุมวิทเลยจากแยกถนนเก้ากิโลมาหน่อยจะเป็นตึกคอม ด้านในก็มีขายสินค้า IT ต่างๆ รวมถึงร้านอาหารด้วยค่ะ จากตัวเมืองศรีราชาตรงบริเวณแยกอัสสัมชัญ ถ้าเราขับรถไปตามถนนสุขุมวิทประมาณ 2.2 กิโลเมตร ก็จะเจอคอนโด Knightsbridge The Ocean Sriracha (หมายเลข 7) อยู่ทางขวามือ ฝั่งตรงข้ามเป็นท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ (หมายเลข 8) เป็นท่าเรือของเอกชนค่ะ
แหลมฉบัง
ลงมาดูในโซนศรีราชาตอนใต้ไปจนถึงแหลมฉบังกันค่ะ วิ่งมาตามถนนสุขุมวิทเรื่อยๆจากตัวเมืองศรีราชา จะเจอกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (หมายเลข 1) รอบๆไม่ไกลจากม.เกษตรมี ศรีราชาอารีน่า (หมายเลข 2) มีทั้งสนามฟุตซอลและฟิตเนสเซ็นเตอร์ ไม่ไกลจะเป็นทางเข้าไปท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ (หมายเลข 3) เป็นท่าเรือของเอกชนค่ะ ลงมาเรื่อยๆตามถนนสุขุมวิท เจอโรงพยาบาลแหลมฉบัง (หมายเลข 4) ผ่านทางรถไฟมาจะเจอกับวัดมโนรมและ โรงเรียนวัดมโนรม (หมายเลข 5) ฝั่งตรงข้ามมีวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา (หมายเลข 6) ค่ะ ถ้ามาตามรถไฟจะไปจบที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง (หมายเลข 7) ซึ่งพอลงมาโซนนี้ก็จะเป็นโซนของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (หมายเลข 8) แล้วค่ะ การเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่นๆนั้น ถ้าไปทางพัทยาจะต้องใช้เส้นสุขุมวิทระยะทางอีกประมาณ 15 กิโลเมตร ถ้าใช้ถนนเมืองใหม่กลางจะไปสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในโซนแหลมฉบังนั้นจะอยู่อีกฝากนึงของถนนสุขุมวิทตรงข้ามกับนิคมฯค่ะ ผ่านถนนเมืองใหม่เหนือมา ช่วงนี้ก็เป็นโซนที่มีชุมชนพักอาศัยค่อนข้างหนาแน่น มีตลาดสี่มุมเมือง (หมายเลข 9) เป็นตลาดสดใหญ่ในโซนแหลมฉบัง จากตัวตลาดสดถ้าออกมาตรงถนนสุขุมวิทจะมีโรงพยาบาลแหลมฉบังอินเตอร์เนชั่นแนล พื้นที่บริเวณรอบๆเป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์ที่ค่อนข้างคึกคัก พื้นที่โซนแหลมทองกับตลาดสี่มุมเมืองนี่หาอาหารการกินได้ตลอดไม่ลำบาก ผ่านถนนแหลมทองมาจะมีสวนสาธารณะใหญ่ของแหลมฉบัง ชื่อสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรรษา (หมายเลข 10) ภายในมีอาคารศูนย์ฟิตเนส และสระว่ายน้ำด้วย ฝั่งตรงข้ามสวนสาธารณะจะเป็นสถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง (หมายเลข 11) ถัดมาตรงริมถนนสุขุมวิทใกล้กับสี่แยกถนนเมืองใหม่กลาง เป็นศูนย์การค้าใหญ่ของแหลมฉบัง ชื่อฮาร์เบอร์มอลล์ (หมายเลข 12) ด้านในมีร้านต่างๆเกือบทุกอย่างที่ห้างทั่วไปในกรุงเทพฯ มีเทสโก้ โลตัสด้วยค่ะ จัดเป็นแหล่งหาของกินของใช้ของคนแหลมฉบังเลย ถ้าขับรถข้ามสี่แยกนี้ไปก็จะตรงไปทางเข้าท่าเรือแหลมฉบังได้เลย
.
.
.
อสังหาริมทรัพย์ในโซนศรีราชาและแหลมฉบัง นอกจากที่ดินแล้วก็จะมีคอนโดและบ้านจัดสรรแนวราบ ซึ่งสำหรับนักลงทุนเก็งกำไรทั้งหลายนั้นก็คงหนีไม่พ้นการซื้อคอนโดเอาไว้ปล่อยเช่า ทั้งตลาดเช่าของคนไทยและคนต่างชาติที่เข้ามาทำงาน โดยเฉพาะคนญี่ปุ่น ซึ่งเราก็จะเห็นว่าเริ่มมีการลงทุนพัฒนาคอนโดจากดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่และรายขนาดกลางในกรุงเทพฯ เข้ามาหลายเจ้า แต่ละโครงการก็จะมีทำเลและการเข้าถึงที่แตกต่างกันออกไป
.
.
.
ดูกันทั้งโซนของศรีราชาและแหลมฉบังกันไปแล้ว จะเห็นว่า ระหว่างหัวเมืองอย่างศรีราชาและแหลมฉบังจะมีเน้นเขาเล็กๆกั้นอยู่ และที่มีถนนสุขุมวิทตัดผ่านเป็นทางเชื่อมต่อกันระหว่าง 2 โซน บริเวณช่วงเนินเขาฝั่งใกล้กับแหลมฉบังจะมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาตั้งอยู่ ซึ่งโซนนี้นอกจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา แล้วก็ยังมีโรงงานของ Thai Oil ใหญ่มากตั้งอยู่ในพื้นที่เยื้องๆ กันด้วย
พื้นที่ตรงนี้จะยังไม่ค่อยมีคึกคักเท่ากันตัวเมืองศรีราชาหรือย่านนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เรียกได้ว่าโซนนี้เป็น Virgin Area เพราะจะยังไม่ค่อยมีพวกบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆเท่ากับพื้นที่ข้างเคียง แว่วๆมาว่าในปีหน้าจะมีโปรเจคใหม่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับมหาลัยเกษตรศาสตร์ ซึงเป็นพื้นที่ของ Origin Property ที่ไว้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม และคอมมูนิตี้มอลล์ในอนาคตเพื่อรองรับการเติบโตที่เล็งไว้ว่าจะขยายออกมาตามแนวถนนสุขุมวิทของย่านนี้ค่ะ ข้อมูลล่าสุดตอนนี้มีโครงการคอนโดที่กำลังจะเปิดตัวใน Origin District อยู่ 2 โครงการ ได้แก่ Notting Hill Leamchabang – Sriracha (Notthing Hill แหลมฉบัง – ศรีราชา) และ Kensington Leamchabang – Sriracha (Kensington แหลมฉบัง – ศรีราชา) ค่ะ
เท่าที่ทราบข้อมูลตอนนี้ ทางออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ก็หมายมั่นปั้นมือจะขยายตลาดคอนโดมิเนียมของตัวเองมาในย่านนี้อีกหลายโครงการ หลังจากที่เป็นที่รู้จักกันดีในแถบโซนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่งไปแล้ว ในปีหน้าก็น่าจะเห็นความคืบหน้าหรือกำหนดการอื่นๆ ออกมาชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ
สิ่งที่เป็นประเด็นน่าสนใจสำหรับอนาคตของโซนศรีราชา-แหลมฉบัง ก็คงจะเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานหลายๆ อย่างที่ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐเพื่อจะหมายมั่นปั้นมือให้พื้นที่ศรีราชา-แหลมฉบัง กลายเป็นส่วนนึงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคการผลิตและภาคการขนส่งของไทยค่ะ
อยู่สบายรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งถึงโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นเมกะโปรเจค 4 โครงการ ที่จะส่งผลต่อ “โอกาส” อีกหลายๆ ด้านของพื้นที่ศรีราชา – แหลมฉบัง ในอนาคตมาให้อ่านกันที่นี่นะคะ ^^
- โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวาย
- โครงการทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา – แหลมฉบัง
- โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-พัทยา-อู่ตะเภา-ระยอง)
- โครงการมอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพุด
.
.
.
พูดถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้ว ตอนนี้ยังมีการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งจะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังมีความสามารถขนส่งสินค้าเพิ่ม จากปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังเฟส 1 และ 2 สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้ 11 ล้านตู้ทีอียูต่อปี และการเพิ่มท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้อีก 8-10 ล้านตู้ทีอียูต่อปี โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะใช้งบลงทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท การสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 นี้จึงเป็นการรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและของภูมิภาคที่มีการเปิดเสรีทางการค้า ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) โดยเชื่อมโยงและยกระดับท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูสู่ภูมิภาคทางทะเล พร้อมเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยการเชื่อมโยงการขนส่งระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะทางทะเลและทางอากาศ (ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) อีกด้วยค่ะ
นอกจากเรื่องของการขยายท่าเรือแหลมฉบังแล้วยังมีโครงการพัฒนาต่างๆโดยรอบเพื่อเพิ่มศักยภาพในพื้นที่อีกด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวาย การก่อสร้างมีทั้งบนพื้นที่ตัดใหม่และคู่ขนานไปกับแนวรถไฟเดิมเส้นทางสายใต้และสายตะสันออก ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าเป็นหลัก คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 98,000 ล้านบาท สำหรับแนวเส้นทางมีระยะทางรวม 322 กิโลเมตร แนวเส้นทาง 7 ช่วง ประกอบด้วย
1. ช่วงสถานีชายแดนย้านพุน้ำร้อน-สถานีท่ากิเลน ระยะทาง 36 กิโลเมตร
2. สถานีท่ากิเลน-สถานีวังเย็น ระยะทาง 23 กิโลเมตร
3. สถานีวังเย็น-สถานีท่าเรือน้อย ระยะทาง 29 กิโลเมตร
4. สถานีท่าเรือน้อน-สถานีชุมทางหนองปลาดุก ระยะทาง 30 กิโลเมตร
5. สถานีชุมทางหนองปลาดุก-สถานีท่าแฉลบ ระยะทาง 27 กิโลเมตร
6. สถานีท่าแฉลบ-บริเวณก่อนถึงสถานีพานทอง ระยะทาง 118.5 กิโลเมตร
7. สถานีพานทอง-ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 58.5 กิโลเมตร
การเชื่อมทางรถไฟและท่าเรือน้ำลึกเข้าด้วยกันจะผลักดันให้ไทยมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกำลังจะเป็นพื้นที่แหล่งการลงทุนอุตสาหกรรม ล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นแสดงท่าทีที่พร้อมจะสนับสนุนโครงการทวายก็จะทำให้โครงการนี้กลับมามีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเกิดการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งในระดับอาเซียน เป็นประตูสู่การค้าในอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี เป็นการเปิดทางเลือกในการขนส่งสินค้าให้กับอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ยุโรปและแอฟริกา ทำหน้าที่เป็นประตูการค้าทางทะเลแห่งใหม่ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามาถึงกาญจนบุรีด้วยในฐานะที่เป็นเส้นทางผ่าน ซึ่งโครงการนี้หากเกิดขึ้นจะเป้นการพัฒนาให้กับภาคโลจิสติกส์ เพราะเป็นการเปิดประตูการขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันตกในเขตเพื่อนบ้าน มาสู่ไทยที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ ทั้งยังเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟสายใต้ตามแนวเส้นทาง สถานีปากท่อ-สถานีวงเวียนใหญ่ได้อีกด้วย
โครงการพัฒนาระบบรางร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามบันทึกเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือ หรือ MOI ทางญี่ปุ่นแสดงความสนใจอย่างจริงจังร่วมพัฒนารถไฟ 2 เส้นทาง คือ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ 574 กม. เป็นทางคู่ราง 1 เมตร เน้นขนส่งสินค้าเป็นหลักเพราะเชื่อม 2 ท่าเรือคือทวายกับแหลมฉบัง อีกเส้นคือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 679 กม.เป็นไฮสปีดเทรนรางมาตรฐาน 1.435 เมตรเน้นขนผู้โดยสารเป็นหลัก ส่วนสายแม่สอด-มุกดาหาร จะให้ความร่วมมือศึกษาให้อย่างเดียว
ทีมา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, ประชาชาติธุรกิจ
โครงการทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา – แหลมฉบัง เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของการขนส่งทางรถไฟในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบังและสถานี ICD ที่ลาดกระบัง การรถไฟฯได้เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ตอนฉะเชิงเทรา -ศรีราชา- แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กม. และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้ดำเนินโครงการดังกล่าวได้ ต่อมาได้รับอนุมัติให้ปรับปรุงวงเงินลงทุนโครงการเป็นวงเงิน 5,850 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 และได้รับการบรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ.2550 – 2554 โครงการนี้ตจะก่อสร้างทางรถไฟใหม่คู่ขนานไปกับทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกในปัจจุบัน จากฉะเชิงเทราไปศรีราชาและสุดปลายทางที่สถานีแหลมฉบัง ผ่านสถานีฉะเชิงเทรา ดอนสีนนท์ พานทอง ชลบุรี บางพระ ศรีราชา และแหลมฉบัง ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี
ทางคู่ตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา – แหลมฉบัง นี้ เป็นโครงการหนึ่งที่บรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจีสติกส์ทางภาคพื้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจะเน้นการขนส่งทางรถไฟเป็นการขนส่งหลัก โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขนส่งสินค้า ในการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยรถไฟไปยังท่าเรือแหลมฉบังเพื่อการส่งออก อีกทั้งเป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง กับสถานีรับส่งตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (ICD) ที่ลาดกระบัง
ที่มา : การรถไฟแห่งประเ์ทศไทย
โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง
โครงการรถไฟความเร็วสูง “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-พัทยา-อู่ตะเภา-ระยอง“ ตามผลการศึกษาฉบับเดิม มีแนวเส้นทางพาดผ่าน 4 จังหวัด คือกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีระยะทางรวม 193.5 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากสถานีลาดกระบังไปจนถึงสถานีระยอง มีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และระยอง ทั้งโครงการในผลการศึกษาระบุว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการ 152,000 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 13% สำหรับรูปแบบจะเป็นระบบรางคู่ มีความกว้าง 1.435 เมตร และจะสร้างในแนวเขตทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกของ ร.ฟ.ท.เป็นหลัก
ด้านรูปแบบการเดินรถ ออกแบบเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 70 นาที ส่วนบริเวณโดยรอบสถานีทั้ง 6 แห่ง จะมีการพัฒนาใหม่ ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ เชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับการเดินทางเหมือนเช่นต่างประเทศ อีกทั้งจะมีทางเข้า-ออกสถานีที่เชื่อมต่อระหว่างย่านสถานีกับถนนโดยรอบ โดยจะจัดให้มีพื้นที่จอดรับส่งผู้ใช้บริการ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งไปยังระบบขนส่งอื่น ๆ เช่น แอร์พอร์ตลิงก์ รถไฟความเร็วสูงสายแก่งคอย-ฉะเชิงเทรา ระบบรถไฟโมโนเรลของเมืองพัทยา
จากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงนี้ จะทำให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาพัฒนาเป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 รองรับการขยายตัวของการคมนาคมขนส่งทางอากาศในอนาคต ซึ่งรัฐบาลกำหนดนโยบายการพัฒนาด้านคมนาคมทางอากาศ โดยส่งเสริมการใช้ท่าอากาศยานในภูมิภาคให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้ท่าอากาศยานในภูมิภาคสนับสนุนและเสริมประสิทธิภาพท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง เช่น ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นต้น
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
โครงการมอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพุด
กรมทางหลวงมีโครงการมอเตอร์เวย์ใหม่สาย “พัทยา-มาบตาพุด” ระยะทาง 32 กิโลเมตร พาดผ่าน 2 จังหวัดชลบุรีและระยอง จุดเริ่มต้นโครงการจะต่อเชื่อมกับมอเตอร์เวย์ช่วงชลบุรี-พัทยา ที่กรมกำลังปรับปรุงถนนเดิม 51 กม. ตรงบริเวณจุดตัดทางแยกทางหลวงหมายเลข 36 หรือถนนพัทยา-ระยอง เป็นมอเตอร์เวย์เก็บเงินค่าผ่านทางแบบระบบปิด คิดอัตรา 1 บาทต่อกม. จะไม่มีค่าแรกเข้า ผู้ใช้ทางจะเสียค่าผ่านทางรวม 51 บาท คาดว่าจะเสร็จในปี 2559-2560 นี้ จากนั้นแนวเส้นทางจะลากผ่านอำเภอบางละมุงแล้วตัดตรงไปเรื่อย ๆ จนไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 3 หรือถนนสุขุมวิท บริเวณตำบลบ้านฉาง ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ
สำหรับประโยชน์ของโครงการหลังก่อสร้างเสร็จจะทำให้การเดินทางเชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย จะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นศูนย์ กลางด้านโลจิสติกส์เชื่อมกับสนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดทข้อมูลโครงการต่างๆที่เกิดขึ้นกันแล้ว เรามาดูบรรยากาศจริงในพื้นที่ศรีราชา-แหลมฉบังกันดีกว่าค่ะ เริ่มดูกันตรงพื้นที่โซนกลางเมืองศรีราชากันก่อนค่ะ
ถนนบริเวณด้านหน้าของ Pacific Park Sriracha Nakorn ศูนย์การค้าใหญ่ในย่านศรีราชาค่ะ
ศูนย์การค้า Pacific Park Sriracha Nakorn นั้นจะมีพวกร้านค้าคล้ายๆกับศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ เลยค่ะ
ด้านหน้าและด้านข้าง Pacific Park จะมีวินรถตู้อยู่ทั้งมาจากพัทยาและกรุงเทพฯค่ะ
Thai Mart อยู่ด้านหลัง Pacific Park
รอบๆเต็มไปด้วยร้านต่างๆที่เอาไว้บริการชาวญี่ปุ่นที่มาทำงานในศรีราชา
โซนศรีราชานคร มีตึกแถวอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงโรงแรมและเซอร์วิส อพาร์ตเม้นต์อยู่ค่อนข้างเยอะ
ตึกสีม่วงนั้นเป็นคอนโดชื่อ Ladda Condominium ส่วนอีกตึกทางด้านขวาก็เป็นคอนโดเช่นกัน ชื่อ อิสเทิร์นทาวเวอร์
ด้านหน้าของโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา รับทั้งเด็กอยู่ประจำและเด็กนักเรียนไป-กลับ ครับ
ไปท่าเรือเกาะสีชังอยุ่ไม่ไกลค่ะ แถวๆเกาะลอย
ซูซูกิสเตเดี้ยม สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลศรีราชา
ริมทะเลมีมีสวนเกาะลอย เป็นสวนสาธารณะใหญ่ ไว้ออกกำลังกาย หรือจะมาเดินเล่น นั่งเล่นก็ได้ค่ะ
สี่แยกอัสสัมชัญ เลี้ยวขวาไปก็จะไปโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาค่ะ
เข้ามาในถนนอัญสัมชัญค่ะ
โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา มีทั้งเด็กอยู่ประจำ และเด็กนักเรียนไป-กลับ
เลยโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชามา ก็เป็นโซนที่อยู่อาศัยอยู่ค่ะ ตรงไปเรื่อยๆจะเจอมอเตอร์เวย์
จากถนนอัสสัมชัญมาจนเกือบจะออกจุดตัดกับมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ – ชลบุรี จะมีโรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น ศรีราชา ซึ่งรับเฉพาะเด็กนักเรียนชาวญี่ปุ่นเท่านั้น
Waseda International Cultural Center หรือศูนย์วัฒนธรรมนานาชาติวาเซดะ
ใกล้กับ Waseda International Cultural Center มีคอมมูนิตี้มอลล์ ชื่อ J-Park ทั้งชื่อและการออกแบบนั้น มีความเป็นญี่ปุ่นมากๆค่ะ
ด้านในตกแต่งมาเหมือนกับอยู่ที่ญี่ปุ่นเลย แม้กระทั้งตัว Max Valu ก็อยู่ในอาคารเหมือนบ้านญี่ปุ่น
มีร้านค้ามากมายค่ะ ไว้รองรับชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในศรีราชาอีกเช่นกัน
รูปนี้เป็นบริเวณสี่แยกอัสสัมชัญครับ (ถ่ายจากถนนสุขุมวิทขาออก) ถ้าเลี้ยวขวาไปก็จะไปโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาได้
วัดทองก็มานะคะ
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี อยู่ในตัวเมืองชลบุรีค่ะ
พาลงมาบริเวณแหลมฉบังกันต่อเลย
เริ่มจากบนถนนสุขุมวิทขาออกค่ะ
เจอกับตึกคอม ซึ่งเป็นตึกขายสินค้า IT เหมือนกับพันธุ์ทิพย์ในกรุงเทพฯ
เส้นนี้ตรงไปเรื่อยๆก็พัทยาค่ะ
จากถนนสุขุมวิทขาออกเจอปั๊ม ปตท.
ท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ เป็นท่าเรือของเอกชน
มีโชว์รูมของ SB Furniture ศรีราชา อยู่เยื้องๆกับโครงการไม่ไกลนัก
เยื้องๆกับโครงการไปไม่ไกล เป็นท่าเรือของเอกชน ชื่อ ศรีราชาฮาร์เบอร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา อยู่ระหว่างศรีราชากับแหลมฉบัง
ศรีราชาอารีน่า ด้านในมีสนามฟุตซอล และฟิตเนสเซ็นเตอร์
ไปแหลมฉบังกันค่ะ
สำนักงานของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังด้านใน
โรงพยาบาลแหลมฉบังอินเตอร์เนชั่นแนลมองจากฝั่งถนนสุขุมวิท
พื้นที่รอบๆแถวตลาดตรงนี้ก็เป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์ทั้งหมด เป็นโซนที่คึกคักในแหลมฉบัง
หน้าตลาดสี่มุมมเมือง
ด้านในเป็นตลาดสดค่ะ
พามาดูสวนเฉลิมพระเกียรติกันต่อ
นอกจากสวนสาธารณะแล้วก็มีีอาคารศูนย์ฟิตเนสและสระว่ายน้ำของเทศบาลด้วยค่ะ
สถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง อยู่ตรงข้ามสระว่ายน้ำ
ปากทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
ปากทางเข้าท่าเรือมีตึกของ TOT
ฮาร์เบอร์มอลล์ครั ด้านในก็มีร้านค้า ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาเก็ต มีโรงหนัง SF ด้วยค่ะ
Harbor Mall จากถนนใหญ่ค่ะ
พาชมเป็นภาพรวมของทำเลพื้นที่รอบๆ ในอำเภอศรีราชาและแหลมฉบังกันไปพอหอมปากหอมคอแล้ว โซนศรีราชานั้นเป็นโซนนี้มีคนญี่ปุ่นอยู่เยอะค่ะ คล้ายๆกับโซนสุขุมวิทเลขคู่ที่มีจะชาวญี่ปุ่นอยู่กันเป็นชุมชนใหญ่ ภาพรวมการเติบโตของเมืองก็กระจุกตัวอยู่ตรงจุดใจกลางเมือง ราคาที่ดินกลางเมืองศรีราชาก็จะค่อนข้างสูง อสังหาริมทรัพย์ในโซนนี้มีการขยายตัวโตตามแนวถนน อย่างตามแนวถนนเก้ากิโล และถนนอัสสัมชัญก็จะเป็นโครงการบ้านจัดสรร ส่วนตามแนวถนนสุขุมวิทก็จะเป็นคอนโดมิเนียมซะเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ส่วนลงมาตามแนวถนนสุขุมวิทจะเจอกับโซนอุตสาหกรรมหลักของจังหวัดชลบุรีอย่างนิคมอุตสาหกรรมแแหลมฉบังและท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งบริเวณส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ทำงานบริเวณนี้และคนในพื้นที่เดิม โซนกลางเมืองแหลมฉบังจะมีรถบรรทุกและรถพ่วงขนตู้คอนเทนเนอร์สินค้าค่อนข้างเยอะค่ะ แต่ถ้าเป็นคนในพื้นที่ก็คงจะชินแล้ว วิ่งกันเป็นปกติของโซนนี้อยู่แล้ว จากการที่มีโครงการจากภาครัฐตามที่ได้เล่าไปทั้งหมดก็คงจะทำให้โซนนิคมฯแหลมฉบัง และท่าเรือคึกคักมากยิ่งขึ้นค่ะ
ถ้าข้อมูลเป็นประโยชน์ ช่วยกด Like กด Share ให้ทีมงานด้วยนะคะ ^_____^