TCDC COMMONS ห้องสมุดด้านการออกแบบการสื่อสาร เปิดตัวเป็นที่แรก โดย TCDC ร่วมมือกับ อนันดาฯ ที่ Ideo Q จุฬาฯ-สามย่าน ย้ำจุดยืนองค์กรความคิดสร้างสรรค์

· 1 min read

บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จับมือกับ TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ – Thailand Creative Design Center) จัดตั้งห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบการสื่อสาร (Communication Design Library) นับเป็นเอกชนรายแรกของไทยที่ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงบันดาลใจในการสรรค์งานต่างๆ พร้อมทุ่มงบกว่า 50 ลบ. รังสรรค์ห้องสมุดสุดทันสมัย ภายใต้ชื่อ “TCDC COMMONS” ขนาดพื้นที่กว่า 351 ตร.ม. บนชั้น 3 ของโครงการ “Ideo Q จุฬา – สามย่าน” ซึ่งตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพ ถ.พระราม 4 ใกล้รถไฟฟ้า MRT สถานีสามย่านเพียง 270 เมตร  โดยตั้งเป้าให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และแหล่งพบปะของผู้สนใจด้านการออกแบบการสื่อสาร Community Design รวมถึงกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ต้องการแสวงหาไอเดีย ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์และโอกาสใหม่ทางธุรกิจในอนาคต

TCDC Commons (ภาพที่12)

TCDC Commons (ภาพที่13)
Ideo Q Chula-Samyan
TCDC Commons (ภาพที่11)
TCDC Commons
TCDC Commons (ภาพที่1)
TCDC Commons

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ทาง อนันดาฯ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ ตลอดจนเล็งเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมด้านการออกแบบการสื่อสารของไทยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของนักออกแบบในสาขานี้สามารถสร้างชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งทาง อนันดาฯ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงผลักดันและกระตุ้นให้กลุ่มนักออกแบบไทยได้เกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่กระบวนการสร้างนักคิด นักออกแบบ ตลอดจนสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่นำ “ทุน” มาบวกกับ “ความคิดสร้างสรรค์” เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยผลักดันให้วงการอุตสาหกรรมด้านการออกแบบการสื่อสารไทยมีความแข็งแกร่งสามารถเติบโตในเวทีโลกได้มากยิ่งขึ้น

TCDC Commons (ภาพที่15)
นายชานนท์ เรืองกฤตยา

การดำเนินธุรกิจของอนันดา ฯ ไม่เพียงแต่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเท่านั้น ยังคงคำนึงถึงปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่มุ่งมั่นในการเป็น Urban Living Solutions สำหรับลูกค้า และสังคมโดยรวม สิ่งสำคัญที่ยึดถือคือการใช้ชีวิตของคนเมืองแบบ Live / Work & Play ซึ่งการพัฒนาโครงการตลอดที่ผ่านมาเพื่อตอบโจทย์และเป็นทางเลือกสำหรับคนเมืองยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารเวลาในการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ  จึงเป็นที่มาของการสนับสนุนในครั้งนี้ และสิ่งที่อนันดาฯ พยายามสร้าง คือ ECO System ให้เกิดรอบๆ TCDC COMMONS แห่งนี้ เพื่อสร้างสิ่งดีๆ คืนกลับสู่สังคม โดยหวังให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ บริเวณโดยรอบแห่งนี้ได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่มาของแหล่งความคิดสร้างสรรค์ และสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะสร้างให้เกิด Social Impact ซึ่งผู้คนที่อยู่ในรัศมี 5 กม. สามารถมาใช้ประโยชน์ทั้งการค้นคว้าข้อมูลอ้างอิง การชมนิทรรศการที่น่าสนใจซึ่งจะมีการจัดแสดงผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งปี นอกจากนี้ผู้ที่สนใจสามารถมาปฏิสัมพันธ์กับที่นี่เพื่อเสริมให้คุณภาพชีวิตในอีกด้านดียิ่งขึ้น”  

TCDC Commons (ภาพที่16)

TCDC Commons (ภาพที่5)

 

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล  ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center – TCDC) เปิดเผยว่า ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านการออกแบบ สำหรับผู้ประกอบการ นักออกแบบ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการพัฒนาธุรกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบ อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคนและเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันและเจริญเติบโตในระดับสากลได้อย่างต่อเนื่อง โดย TCDC นอกจากมุ่งเน้นสร้างสรรค์และรวบรวมองค์ความรู้จากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมาถ่ายทอดสู่สมาชิกและผู้ใช้บริการในรูปแบบต่างๆ  และพบว่าสาขาการออกแบบการสื่อสาร (Communication Design) เป็นสาขาที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีสถิติการใช้งานสูงในปัจจุบัน

“การเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตของประเทศ ต้องอาศัยเครื่องมือที่หลากหลาย ไม่ใช่การลงทุนภาครัฐอย่างเดียว หรือในด้านเอกชนก็ไม่ใช่การลงทุนเพื่อมุ่งเน้นผลกำไรทางธุรกิจ แต่มองในด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งในจุดนี้การลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือที่จำแนกลงไปอีกว่า Socially Responsible Investment จึงเป็นโมเดลใหม่ในการขับเคลื่อนธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งทาง ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นผู้ที่ได้ริเริ่มและผลักดัน Creative Economy  เป็นคนแรกๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งที่ท่านเป็นประธานของ TCDC จากผลผลิตทางความคิดของท่านจึงออกมาเป็นรูปธรรมบนการทำงานหนักของพวกเรา โครงการ TCDC COMMONS แห่งแรกจึงเกิดขึ้นบนการหลอมรวมทางแนวคิดที่หนักแน่นนี้”

TCDC Commons (ภาพที่2)

TCDC Commons (ภาพที่10)

TCDC Commons (ภาพที่8)

 

ด้วยแนวคิดดังกล่าว TCDC จึงได้จัดตั้งโครงการ TCDC COMMONS เพื่อเป็นช่องทางความร่วมมือกับภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านการเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือ พื้นที่จัดแสดงผลงาน หรือ พื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของสังคมและชุมชนโดยรอบว่าต้องการสนับสนุนกิจกรรมและการบริการในรูปแบบใด

 

สำหรับ TCDC COMMONS แห่งแรกนี้ ตั้งเป้าให้เป็นพื้นที่พบปะแลกเปลี่ยนไอเดียและทำงานร่วมกัน (co-working space) รวมถึงเป็นแหล่งชุมนุมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการสื่อสาร ครอบคลุม 21 สาขาด้านการออกแบบการสื่อสาร อาทิ สาขา Advertising  สาขา Ambient media สาขา Animation สาขา Art direction สาขา Web design ฯลฯ  รวมถึงผู้ที่สนใจให้สามารถมาทำงานและแลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งจะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

อัตราค่าสมาชิก

นักเรียน และนิสิต นักศึกษา  600 บาท ต่อ ปี

เจ้าหน้าที่รัฐ, ครู, อาจารย์, ผุ้สูงอายุ   600 บาท ต่อ ปี

ประชาชนทั่วไป  1,200 บาท ต่อ ปี

One Day Pass 100 บาท ต่อ วัน

 

ขอบเขตของสาขาการออกแบบการสื่อสาร 21 สาขา

1.Advertising: การโฆษณาเสนอขายสินค้า บริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าจํานวนมากได้ ในเวลาอันรวดเร็ว

2.Ambient media: สื่อแฝงในบรรยากาศเป็นสื่อนอกเหนือจากสื่อที่เคยมีมาอย่างเช่น โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ตัวอย่างสื่อแฝง ได้แก่ ข้อความที่ติดอยู่หลังบัตรจอดรถ

3.Animation: การสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยนำภาพมาร้อยเป็นเรื่องราวสำหรับการสื่อสาร โฆษณา และภาพยนตร์

4.Art direction: การกำหนดแนวทางเพื่อกำหนดทิศทางการออกแบบที่สามารถสื่อสารและยังมีความสวยงาม

5.Brand management: การสร้างคุณค่าให้ตรายี่ห้อด้วยการบริหารจัดการเพื่อนำเสนอและสื่อสารคุณภาพของสินค้าไปยังผู้บริโภค

6.Content strategy: การกำหนดเนื้อหาที่ทั้งสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงและสนับสนุนแบรนด์

7.Copywriting: การเขียนข้อความหรือคำพูดในโฆษณา เพื่อการโฆษณา การตลาด

8.Creative directing: การคิด ออกแบบ และนำเสนอแนวทางในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และโฆษณา

9.Editing: การตรวจแก้ ปรับเปลี่ยนข้อมูล ข้อความ หรือภาพ เช่น ต่อเติม ตัดทอน เรียงใหม่เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

10.Information architecture:  การจัดวางโครงสร้างข้อมูลในเว็บไซต์ หรือฐานข้อมูลเพื่อให้เกิดการใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ

11.Information graphics:  การใช้งานกราฟิกมาจัดแสดงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลทางสถิติ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

12.Instructional design: การออกแบบการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการนำข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์และการสื่อสารมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบ

13.Illustration: การวาดภาพประกอบเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

14.Logo & Identity Design:  การออกแบบตราสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ของสินค้าเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์และแนวคิดของสินค้าไปสู่ผู้บริโภค

15.Marketing communications: การสื่อสารการตลาด การสื่อความหมายกิจกรรมทางการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างการยอมรับระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค

16.Printing & Packaging: การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

17.Signage design: การออกแบบเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ ส่วนมากใช้ในการบอกสถานที่หรือทิศทาง

18.Typography: การออกแบบตัวอักษรหรือตัวพิมพ์ รวมถึงการจัดตัวเรียง และผลงานการพิมพ์อันเนื่องมาจากตัวพิมพ์

19.Visual identity design:  การออกแบบภาพเพื่อสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าหรือแบรนด์

20.Visualization:  การสร้างภาพ แผนผัง หรือ ภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้ในการสื่อสารแทนข้อความ

21.Web design:  การออกแบบเว็บไซต์

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ALL COMMENT (0)
icon-yusabuy-titleRELATED ARTICLE
back to top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใด ๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก