แผ่นดินไหวเขย่าความเชื่อมั่นอสังหา : บททดสอบใหญ่ของคอนโด High Rise และ Developer ไทย
· ~ 1 min readย้อนกลับไปวันที่ 28 มี.ค. ระหว่างที่ทุกคนกำลังทำงานอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็รู้สึกมึน ๆ คล้ายบ้านหมุน ก่อนจะเห็นไฟในออฟฟิศเริ่มแกว่งแรงขึ้น ทำให้รู้ทันทีว่านี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ
พอวิ่งลงมาถึงชั้นล่าง รีบเช็ก Threads แบบเรียลไทม์ ถึงรู้ว่านี่คือ “แผ่นดินไหว” แต่สิ่งที่ทำให้โมโหที่สุด คือไม่มีแม้แต่สัญญาณเตือนหรือ SMS ใด ๆ เข้ามา ขณะเดียวกัน ข่าวตึก สตง. ถล่ม ก็ยิ่งเร่งให้บรรยากาศยิ่งตึงเครียดไปอีกระดับ
เหตุการณ์ในวันนั้นไม่เพียงสะเทือนพื้นดิน แต่ยังสั่นสะเทือนความเชื่อมั่นของตลาดอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด ตลาดหุ้นปิดก่อนเวลา ราคาหุ้นกลุ่มอสังหาฯ และท่องเที่ยวร่วงแรง ความเสียหายเบื้องต้นประเมินไว้ที่ 3,000–5,000 ล้านบาท แม้เม็ดเงินที่เสียไปไม่ได้มีผลกระทบขนาดที่จะเป็นวิกฤต แต่แรงกระเพื่อมที่เกิดขึ้น ก็บอกอะไรหลายอย่าง
คอนโด High Rise ถูกตั้งคำถามทันที
หนึ่งในผลกระทบที่เห็นได้ชัดคือ “การชะลอตัวของยอดจองคอนโดสูงในเมือง” ข้อมูลเบื้องต้นจาก REIC ระบุว่า เพียงสัปดาห์เดียวหลังเหตุการณ์ ยอดจองลดลงเฉลี่ย 12–15% สะท้อนความไม่มั่นใจของผู้บริโภคได้อย่างตรงไปตรงมา
ผู้บริโภคจำนวนมากรู้สึก ตกใจ – หวาดกลัว – และไม่มั่นใจ คำถามสำคัญคือ “ยังอยากอยู่คอนโดสูงอีกไหม?”
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ทั้งวุ่นวาย สับสน และเกิดคำถามที่ตามมาอย่างมากมาย ไปพร้อมกับเกมส์อารมณ์จากลูกบ้านที่กำลังเดือดร้อนที่รอให้ ดีเวลลอปเปอร์ออกมาเทคแอคชั่น
เกมส์มันเริ่มตั้งแต่ตรงนี้เลยค่ะ ฟังแล้วทำอะไร สื่อสารยังไงตอนนั้น? รับอารมณ์ของลูกค้าได้ดีแค่ไหน และจะทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกอุ่นใจได้บ้าง?
สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนถึงความรับผิดชอบ และการบริหารระบบในองค์การเลย ว่าจะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นแบบที่ไม่ทันตั้งตัวและไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนก่อนล่วงหน้าได้ดีแค่ไหน จากเหตุการณ์นี้อาจะทำให้เราได้เห็น “เนื้อแท้” ของดีเวลลอปเปอร์เจ้าต่าง ๆ ก็เป็นได้ค่ะ
ในทางกลับกัน ถ้าดีเวลลอปเปอร์เจ้าไหนสามารถเทคแอคชั่นได้เร็วก็จะแสดงถึงความรับผิดชอบ ไม่นิ่งนอนใจ รับอารมณ์ลูกค้าและตอบคำถามลูกค้าได้ก็จะส่งผลดีกับภาพลักษณ์ของตัวเองด้วยค่ะ การรับมือกับลูกบ้านที่กำลังเดือดร้อน ไปจนถึงการเทคแอคชั่นที่ทำออกมาได้อย่างมีระบบ การรายงานผล และการแจ้งเตือนเรื่องซ่อมแซม สิ่งนี้สะท้อนถึงโครงการสร้างการบริหารและจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่วนนี้ก็จะส่งผลดีต่ออารมณ์ของผู้บริโภค และจะมองว่าเดฟฯ เจ้าไหน มีความรับผิดชอบและการจัดการที่ดี ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในอนาคตได้
Insight: ลูกบ้านคอนโดสูงกำลังคิดอะไร?
ในความเป็นจริง หลายคนที่อยู่บนคอนโดสูงมองในพาร์ทอนาคตอาจไม่ได้มีทางเลือกที่เสถียรได้มากเท่ากับตัวเลือกเดิม โดยเฉพาะในเชิงของที่อยู่อาศัย คอนโดคือสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ในชีวิตคนจำนวนมาก การ “เปลี่ยนที่อยู่” ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ บวกกับทางเลือกทั้งในเรื่องของราคาและทำเล ก็แทบไม่มีโปรดักซ์ไหนมาทดแทนคอนโดสูงได้เลย
แม้บางคนอาจหันไปมองคอนโด Low-rise หรือบ้านแนวราบเป็นทางเลือก แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในข้อจำกัดเรื่องทำเลและราคาอยู่ดี จุดนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยากค่ะ เอาให้เห็นภาพง่ายๆ คอนโด Low rise ทำเลดีๆ ยูนิตน้อย ตัวหารน้อย ราคาก็แพงกว่ามาก ซึ่งกลุ่ม Target ของคอนโดสูงก็ไม่ได้ตรงกลุ่มกับลูกค้าคอนโด Low rise อยู่แล้วตั้งแต่ต้น แต่ก็เป็นไปได้ในกลุ่มลูกค้าบางส่วนที่สามารถ Efford ได้
แนวโน้มตลาดอสังหาต่อไปนี้จะเป็นอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ดีเวลอปเปอร์ ควรทำต่อจากนี้ ?
แนวโน้มหลังจากนี้ คาดว่าผู้บริโภคจะเริ่มมองหาคอนโดที่มีมาตรการป้องกันภัยธรรมชาติที่เชื่อถือได้ และมีคำนึงถึงการสื่อสารที่รวดเร็วและการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพจาก Developer ไปจนถึงความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่และระบบหนีภัยที่รองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และคาดหวังให้ Developer ดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจในการอยู่อาศัยในระยะยาว
ส่วนแนวโน้มทางฝั่งของดีเวลลอปปเปอร์อาจมีเทรนด์การนำเสนอที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ในเชิงที่ไม่ใช่แค่ในเรื่องไลฟ์สไตล์ แต่ยังเป็นเรื่องของเชิงโครงสร้าง ไปจนถึงดำเนินการสื่อสารอย่างโปร่งใสและรวดเร็วกับลูกบ้าน ทั้งการแจ้งข้อมูลการตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคารอย่างชัดเจน และเปิดช่องทางการติดต่อที่สะดวกสำหรับการแจ้งปัญหาหรือข้อสงสัย
นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาระบบฉุกเฉินและมาตรการความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น เช่น การออกแบบอาคารที่รองรับการต้านแผ่นดินไหว และการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานการก่อสร้างที่สูงขึ้น เป็นต้น
สุดท้าย ความมั่นคงที่ผู้บริโภคมองหาอาจไม่ได้อยู่ที่ตึกสูงหรือตึกเตี้ย แต่อยู่ที่ว่าใครจะลุกขึ้นมาสร้างความเชื่อมั่นได้เร็วและจริงใจกว่ากัน นี่อาจเป็นประเด็นในเกมส์อสังหาที่ Developer ไทย ต้องสู้กันต่อไปค่ะ